สารบัญบทความ
Toggleแบรนด์ oem คืออะไร เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงรู้คำตอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจและโรงงานถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบนั่นเอง อย่างไรก็ตาม oem ถือเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการสร้างแบรนด์และโรงงานรับผลิตเท่านั้น ซึ่งยังมีแบบอื่น ๆ ให้ศึกษาอีก โดยจะมีรูปแบบใดอีกบ้าง ในบทความนี้ Butterfly Organic มีคำตอบมาฝาก
OEM-ODM-OBM คืออะไร ต่างกันยังไง มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง?
OEM คือ อะไร แล้ว ODM และ OBM คืออะไร? ใครที่กำลังวางแผนผลิตสินค้า และแบรนด์ ครีม เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ของตัวเองอยู่ จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ต้องเคยได้ยิน หรือคุ้นเคยกับคำว่า OEM , ODM และ OBM กันมาบ้าง ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นคำศัพท์ในการเรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดบริการแต่ละประเภทนั่นเอง แต่ว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรล่ะ แล้วเราจะเลือกโรงงานอย่างไรให้เหมาะสมกับสินค้าและธุรกิจของบเรา วันนี้เราจะพาคุณมาไขความลับ และมาทำความรู้จักกับโรงงานแต่ละประเภทกันให้มากขึ้นกัน เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจเลือกถูกนั่นเอง
oem คือ
OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturing คือ การผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อกำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการลงทุนการผลิตอีกด้วย
โรงงานผลิตแบบ OEM ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรงงานที่เปิดใหม่ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ แต่เน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการการผลิตน้อย และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตของตนเอง
ข้อดี
– ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
– เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ข้อเสีย
– มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง
– หากใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก
odm คือ
ODM หรือ Original Design Manufactuere คือ ผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง ซึ่งโรงงานประเภทนี้ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับประเภท OEM โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบ โดยสามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เอง และนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน โดยที่ลูกค้ามีหน้าที่ในกระบวนการขายและกระจายสินค้าสู่ตลาดเอง
การออกแบบเหล่านี้มีทั้งที่เป็น Exclusive คือออกแบบให้เฉพาะราย โดยมีการคิดค่าออกแบบที่แพง เพราะถือว่าลูกค้าเพียงรายเดียวจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่หรือ non exclusive คือให้สิทธิได้กับหลายรายในราคาค่าออกแบบที่ถูกลงนั่นเอง
ข้อดี
– ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
– ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
ข้อเสีย
– มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงกว่าโรงงานประเภทอื่น เพราะมีเรื่องการออกแบบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
obm คือ
OBM หรือ Original Brand Manufacturer คือ การผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานที่พัฒนาได้เต็มที่ เพื่อผลิตสินค้าและจำหน่ายในปริมาณที่มาก ดังนั้นหากแบรนด์แข็งแรงมากพอ และต้องการกำลังผลิตจำนวนมาก การเลือกสร้างโรงงานเองก็จะสามารถลดต้นทุนในการผลิตไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ
ข้อดี
– มีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก ๆ
– ช่วยลดต้นทุนในการผลิตไปได้มากและปรับกลยุทธ์ในการผลิตเมื่อไหรก็ได้
ข้อเสีย
– ต้องผลิต ออกแบบ และทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต
– ย้ายฐานการผลิตยาก และต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างโรงงาน
อยากสร้างแบรนด์ตัวเองยากไหม อยากมีธุรกิจโยเกิร์ตเป็นของตัวเอง ต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน?
คงจะกล่าวไม่ผิดนักที่ยุคนี้ใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของแบรนด์หรือมีแบรนด์เป็นของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ถ้าการมีแบรนด์เป็นของตัวเองคือเป้าหมาย แล้วอะไรล่ะที่จะนำทางให้ไปถึงเป้าหมายนั้น เจ้าของแบรนด์มือใหม่อาจเริ่มต้นด้วย 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. หาจุดโดดเด่นของโยเกิร์ตแบรนด์ตนเองให้เจอ
เพราะจะเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเอาชนะคู่แข่งและเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น
2. ศึกษาตลาดให้ดี
เมื่อผู้ประกอบการได้สินค้าที่ต้องการจะนำมาขายแล้ว วิธีทำแบรนด์ของตัวเองในขั้นตอนต่อมาคือการศึกษาตลาดว่าในช่วงเวลานี้สินค้าที่กำลังจะนำมาขาย เป็นที่นิยมอยู่ในท้องตลาดและเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ แนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมต่อไปอย่างยาวนานหรือตกยุค
3. วางแผนในเรื่องการเงิน
เรื่องของการวางแผนทางการเงินนั้นก็ถือว่าเป็นปัจจัยหลักในวิธีสร้างแบรนด์ของตัวเอง เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการได้รู้ว่าลิมิตของตัวเองมีเงินอยู่เท่าไหร่ ต้องใช้ทุนในการสร้างแบรนด์เท่าไหนถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในเรื่องของการลงทุนเกี่ยวกับการทำการตลาดการโปรโมต การบริหารจัดการก็สำคัญ เพราะในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ปัจจัยในเรื่องการเงินทั้งสิ้น
4. หาโรงงานผลิตที่มีคุณภาพ
สำหรับใครที่อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง จะต้องมีโรงงานผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล เพราะจะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับการเลือกโรงงานผลิตนั้นควรเลือกที่โรงงานที่มีใบรับรองตามมาตรฐานสากลอย่างเช่น GMP HACCP Halal เป็นต้น ซึ่งโรงงานผลิตเพื่อทำแบรนด์สินค้าของตัวเองที่ได้รับความนิยม ก็จะมีโรงงานรับผลิตสินค้า OEM และโรงงานผลิตสินค้า ODM
แบรนด์ oem คืออะไร ทำไมจึงเหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
ถือเป็นรูปแบบของการสร้างแบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีข้อดีตรงที่ประหยัดต้นทุนและเจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง รวมถึงง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจอีกด้วย การทำแบรนด์ในรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของการรับสร้างแบรนด์แบบครบวงจร กล่าวคือเจ้าของแบรนด์อาจมีเพียงแบรนด์และสินค้า แต่ยังไม่มีกลยุทธ์ ไม่มีแนวคิดทางการตลาด ทีมช่วยสร้างแบรนด์ก็จะเป็นที่ปรึกษาและคอยวางแผนให้นั่นเอง
ทั้งนี้นอกจากบริการช่วยสร้างแบรนด์แล้ว ก็จะมีบริการโรงงานรับผลิตอยู่พร้อม ซึ่งมักจะเป็นโรงงานรับผลิตอาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ ซึ่งก็ถือเป็นหนึ่งความสะดวกที่เจ้าของแบรนด์จะได้รับ โดยโรงงานดังกล่าวจะทำการผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อกำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ
โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการลงทุนการผลิตอีกด้วย
โรงงาน OEM อาหารควรเลือกยังไง ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
สำหรับเกณฑ์ในการเลือกโรงงานนั้นเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญที่เจ้าของแบรนด์ควรใส่ใจ เกณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วย
1. มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยปลอดภัย
เพราะเป็นสินค้าเกี่ยวกับอาหาร ดังนั้นขั้นตอนการผลิตจึงต้องทันสมัยปลอดภัย สามารถรับประทานได้อย่างสบายใจ 100% ไม่ต้องกังวลใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อนำมาขายต่อลูกค้าก็ปลอดภัย ที่สำคัญต้องผ่าน อย. ด้วย
2. เจ้าของแบรนด์สามารถวางใจได้ในผลิตภัณฑ์และคุณภาพการผลิต
นอกจากมีความทันสมัยและปลอดภัยแล้ว โรงงานยังต้องใส่ใจในคุณภาพการผลิตด้วย โดยสินค้าต้องออกมาสวยงามน่ารับประทาน บรรจุหีบห่อเรียบร้อย และไม่มีสิ่งปนเปื้อน
3. มีราคาไม่แพง
เรื่องราคาก็มีความสำคัญ โดยราคากับสินค้าต้องพอดีกัน โดยเจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องเลือกโรงงานรับจ้างผลิตอาหารที่คิดราคาแพง เพียงเพราะคิดว่าจะดีกว่าโรงงานที่รับผลิตในราคาถูกเสมอไป จริงอยู่ที่ราคาถูกไปก็ดูไม่น่าไว้ใจ แต่หากจ้างโรงงานที่คิดค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้น เจ้าของแบรนด์ต้องค่อย ๆ พิจารณาและตัดสินใจเลือกอย่างถี่ถ้วน
ทำแบรนด์ oem โยเกิร์ตดีไหม มีแนวโน้มยังไงสำหรับธุรกิจนี้?
ปัจจุบันตลาดคนรักสุขภาพมีความต้องการบริโภคนมออร์แกนิคสูงมากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าตลาดรวมผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มมีประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์ นม-โยเกิร์ต ออร์แกนิค และ almond milk จัดอยู่ในกลุ่มนมทางเลือก ที่มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 5% ส่วนอีก 95% จะเป็นกลุ่มนมวัวและนมถั่วเหลือง อย่างไรก็ตามด้วยกระแสการดูแลสุขภาพ ทำให้เซกเมนต์ของนมทางเลือกเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมั่นใจว่าตลาดผลิตภัณฑ์ นม-โยเกิร์ต ออร์แกนิค ยังคงมีโอกาสเติบโตตามความต้องการของคนรุ่นใหม่อย่างแน่นอน
โรงงาน oem โยเกิร์ต Butterfly Organic มาตรฐานโรงงานระดับสากล
หากผู้อ่านท่านใดที่กำลังมาหาโรงงาน OEM ที่ดีมีมาตรฐานในหมวดผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องดื่มแพลนต์เบส เราขอแนะนำ บริษัท บัตเตอร์ฟลาย ออร์แกนิค จำกัด เป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล โดยมีบริการรับผลิต (ระบบพาสเจอไรซ์) เครื่องดื่ม เช่น น้ำนมธัญพืช น้ำนมถั่วต่าง ๆ ชา กาแฟ ฯลฯ โยเกิร์ตจากนมวัว หรือธัญพืช ทั้งชนิดดื่ม และตักรับประทาน อาหารหรือขนมในภาชนะปิดสนิท เช่น พุดดิ้ง ตลอดไปจนถึงบริการรับผลิตและจัดจำหน่าย / คิดสูตร ปรับสูตร / บรรจุภัณฑ์ ฉลาก / รับผลิต จัดเก็บ ขนส่ง / ดำเนินการเรื่องขอ อย. / ขอใบรับรอง (Organic Certification IFOAM,USDA) / เดินเรื่องและกระจายสินค้าเข้าห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ