สารบัญบทความ
Togglencds คืออะไรกันแน่ และมันอันตรายแค่ไหน? คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนคงสงสัยและอยากรู้ว่าเจ้าโรคกลุ่มนี้มันคืออะไรกันแน่ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่มาจากพฤติกรรม แล้วพฤติกรรมที่ว่าคือพฤติกรรมอะไรบ้าง ซึ่งหากพูดง่าย ๆ ก็คือ โรคที่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงของเรา เช่น กินอาหารที่มีไขมันเยอะ ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่บ่อย ๆ ส่งผลให้เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็อาจทำให้ผู้อ่านพอจะเริ่มนึกออกแล้วว่าโรคในกลุ่ม NCDs คืออะไรบ้าง แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าทุกคนสามารถรับประทานอาหารเมนูง่าย ๆ อย่าง “โยเกิร์ต” เพื่อป้องกัน NCDs ได้ด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร Butterfly มีคำตอบ
ทำความรู้จัก “โรค NCDs” ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคพฤติกรรมที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้
โรค NCDs เกิดจากอะไร
เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นมากมาย จนทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมถึงการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย และ รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือแม้กระทั่งอาหารที่มีไขมันสูง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่โรคต่างๆได้ง่าย
เช่น เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ และเมื่อนำมาประกอบความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกันและสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs ขึ้นได้ ซึ่งก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคสูง รวมทั้งบางโรคยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
NCDs มีกี่กลุ่ม
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าโรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานต่าง ๆ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มโรคด้วยกัน ซึ่งก็เป็นโรคที่พบมากในคนไทยอีกด้วย
โรค NCD มีอะไรบ้าง
สำหรับ 7 โรคในกลุ่มโรค NCDs ที่พบมากในคนไทย ได้แก่
1. โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่วัดระดับความดันโลหิตได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
2. โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังอีกโรคหนึ่ง เสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะไตวายได้
3. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งอาจจะไม่มีอาการเตือนมาก่อน พอมีอาการอาจทำให้มีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
4. โรคหลอดเลือดสมอง
ถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย โดยมักจะพบในกลุ่มคนอายุมากกว่า 45 ปี และมักมีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง
5. ไขมันในเลือดสูง
พฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด อาการที่ต้องสังเกต เช่น แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปวดศีรษะเฉียบพลัน วูบแบบเฉียบพลัน
6. โรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพองมักจะสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ อาการจะมีอาการไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด เป็นต้น
7. โรคมะเร็ง
เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจมีหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การได้รับสารเคมี โดยโรคจะแสดงอาการค่อนข้างช้า และหากแสดงอาการ มักจะเป็นระยะที่ค่อนข้างเป็นมากแล้ว
8. โรคอ้วนลงพุง
ผู้ที่มีปัญหาอ้วนลงพุง มักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาได้
โรค NCDs การป้องกันที่สามารถเริ่มได้ด้วยตนเอง
สำหรับการป้องกันกลุ่มโรคจากพฤติกรรมเสี่ยง ก็ต้องเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนและลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ผ่อนคลายความเครียด
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่ (สำหรับผู้ที่มีกลิ่นปากเนื่องจากสูบบุหรี่ สามารถลดกลิ่นปากได้ด้วยโยเกิร์ตได้เช่นกัน ติดตามรายละเอียดได้ที่ >> มีกลิ่นปาก ไม่มีความมั่นใจ กินโยเกิร์ตช่วยได้ แก้ไขปัญหาช่องปาก)
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือไขมันสูง
อาหารป้องกันโรค NCDs โพรไบโอติกจากโยเกิร์ต
เนื่องจากโยเกิร์ต เป็นแหล่งของวิตามินดีและมีจุลินทรีย์มีชีวิตชนิดดี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นอาหารที่สามารถลดไขมันลงพุงได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้มันเป็นอาหารอีกชนิดที่เหมาะกับการกินเพื่อต้าน NCDs
การรับประทานอาหารในกลุ่มที่สามารถการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอาหารเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและมีความสำคัญและคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความจำเป็นต้องกินอาหารในทุกวัน เพื่อให้มีกำลังในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราควรใส่ใจมากขึ้นในการเลือกวัตถุดิบมาปรุงอาหารและอาหารที่เลือกมารับประทาน ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก็ถือว่าเป็นการความคุ้มค่าอย่างมากกับสุขภาพของเราทุก ๆ คนซึ่งการกินโยเกิร์ต หรือนมเสริมโพรไบโอติก (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตที่มีประโยชน์ ช่วยฟื้นฟูและปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และระบบย่อยอาหาร เพราะส่วนใหญ่ของเซลล์ที่สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย อยู่ในระบบทางเดินอาหารถึง 70% นั่นเอง การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบทางเดินอาหารสมดุลแข็งแรง ช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกจากร่างกายได้ดีขึ้น
สำหรับผู้ใหญ่ควรเลือกโยเกิร์ตสูตรไขมันต่ำและมีน้ำตาลน้อย สำหรับเด็กที่น้ำหนักตัวไม่เกินเกณฑ์ สามารถเลือกเป็นสูตรปกติหรือเลือกนมที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ได้ หรือจะลองสร้างสรรค์แปลงร่างโยเกิร์ตเป็นเมนูต่าง ๆ ก็ช่วยให้การทานโยเกิร์ตไม่น่าเบื่อ หากผู้อ่านท่านใดอยากได้ไอเดียสำหรับเมนูโยเกิร์ตใหม่ ๆ สามารถตามต่อได้ที่ >> แชร์เมนู! โยเกิร์ตธัญพืช ต้องกินคู่กับอะไร จึงจะช่วยลดความอ้วน
โยเกิร์ตออร์แกนิคจาก Butterfly
โยเกิร์ตออร์แกนิคของเราไม่ใช่แค่วัวที่เลี้ยงแบบกินหญ้า Grass Fed เท่านั้นแต่เป็นวัวที่กินหญ้าออร์แกนิค 100% (certified organic) ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีใด ๆ ทั้งกับตัววัวและพื้นที่ในฟาร์มเราปล่อยวัวให้เดินเล่นในทุ่งกว้าง ไม่มีการกักขังเพื่อให้วัวของเราได้มีสุขภาพแข็งแรง อารมณ์ดี เพื่อให้ผลผลิตดีตามไปด้วย โดยเฉพาะการอุดมไปด้วยสารที่จำเป็นต่อกระดูก เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส จนเราได้รับการปิดฉลากจากมาตรฐานออร์แกนิค USDA (NOP) องค์กรที่ดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ดีเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าโยเกิร์ตของเราปลอดภัย ไร้สารเจือปนส่งตรงมาจากฟาร์มอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้าและดูสินค้าเพิ่มเติมสามารถติดตามผ่านไลน์ได้ที่นี่ LINE SHOP BUTTERFLY ORGANIC
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
กรีกโยเกิร์ต ไม่มีน้ำตาล กับเมนู 3 สไตล์ที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด
โยเกิร์ตจากพืชมีอะไรบ้าง กับ 5 เหตุผลที่ทำไมคนถึงเลือกกิน
plain yogurt คืออะไร แตกต่างจากโยเกิร์ตชนิดอื่นหรือไม่ ดีต่อสุขภาพหรือเปล่า?
常問問題
ผลข้างเคียงที่ตามมาจากโรคในกลุ่ม ncds นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไป เนื่องจากโรคแต่ละโรคส่งผลไม่เหมือนกัน ดังนั้น ผู้ป่วยในแต่ละเคสก็จะได้รับผลข้างเคียงที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง