สารบัญบทความ
Toggleโรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มอาการที่ค่อนข้างกว้างและทุกคนรู้จักกันดี แต่บางสิ่งที่ก็อาจจะมีหลาย ๆ คนไม่รู้คือเจ้าโรคร้ายแรงชนิดนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานโยเกิร์ต ตัวช่วยที่มีภาพจำว่ามีคุณสมบัติแค่ช่วยลดน้ำหนักเท่านั้น ฉะนั้นเพื่อไขข้อสงสัยให้กับทุกคนว่าโยเกิร์ตสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจได้จริงไหม และช่วยได้อย่างไร Butterfly มีคำตอบมาฝาก แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคหัวใจกันก่อน
โรคหัวใจเกิดจากอะไร
โรคหัวใจเกิดจากสาเหตุใดบ้าง? จากคำถามนี้หลาย ๆ คนคงพอทราบคำตอบกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ และประวัติของครอบครัว ถือว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อภาวะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจอย่างยิ่ง แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่านอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกที่เราอาจไม่ทราบมาก่อนและส่งผลกว่าที่คิด
โรคหัวใจสาเหตุที่เราอาจคาดไม่ถึง ประกอบด้วย…
– การสูบบุหรี่
สาเหตุหลักของมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหัน
– การใช้ชีวิตประจำวัน
หากในชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ การออกกำลังกายจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะสามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ชนิดของโรคหัวใจ มีอะไรบ้าง?
สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
– โรคหลอดเลือดหัวใจ
– โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดจากไวรัส
– โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูมาติก
– โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
– โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
– โรค หรือความพิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป แต่จะมีสาเหตุจากแหล่งที่มาเดียวกัน นั่นคือ ความผิดปกติจากหัวใจนั่นเอง
อาการโรคหัวใจ มีอะไรบ้าง
โรคหัวใจอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจนนั้นมักเป็นอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย และมักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย ๆ ซึ่งอาการดังกล่าวถือเป็นอาการแรกเริ่มเท่านั้น ซึ่งยังมีอีกหลาย ๆ อาการแสดงที่ผู้มีความเสี่ยงควรทราบเพื่อนำไปสังเกตตนเอง
10 อาการเตือนโรคหัวใจ สังเกตไว้เพื่อเฝ้าระวัง
อาการโรคหัวใจระยะแรก ๆ นั้นเป็นเพียงแค่สัญญาณที่บ่งบอกให้ทราบถึงสุขภาพร่างกาย การจะรู้ว่าเป็นโรคหัวใจหรือเปล่านั้น จะต้องเข้ารับการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย สำหรับ 10 อาการเตือนโรคหัวใจที่ควรพบแพทย์ มีดังนี้
– เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่
– เหนื่อยง่าย
– หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
– หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ
– ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง
– วิงเวียนศีรษะ
– บวมตามแขน ขา เท้า
– นอนราบไม่ได้
– อ่อนเพลีย
– ไอเรื้อรังแห้ง ๆ
คนเป็นโรคหัวใจห้ามกินอะไรบ้าง
สำหรับคนเป็นโรคหัวใจนั้นการเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการกำหนดภาวะความรุนแรงของโรคได้เลยทีเดียว การเลือกและหลีกเลี่ยงชนิดของอาหารนั้นจึงสำคัญมาก ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า อาหารโรคหัวใจห้ามกินมีชนิดใดบ้าง
1. อาหารไขมันและคอเลสเตอรอลสูง
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเบเกอรี่ พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรืออาหาร Fast Food เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเพิ่มไขมัน LDL รวมไปถึงงดดื่มแอลกอฮอล์ หรือน้ำหวาน เครื่องดื่มเหล่านี้จะเพิ่มไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงอาหารแปรรูปไขมันสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก และไขมันสัตว์จากเมนูอาหาร เช่น ข้าวมันไก่ เป็นต้น
2. อาหารรสจัด
โดยเฉพาะอาหารรสเค็มและหวานจัดไม่เหมาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมโซเดียมสูงมีส่วนประกอบของผงชูรสเป็นจำนวนมาก หรืออาหารดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม ผักดอง เป็นต้น รวมไปถึงอาหารรสหวานจัดควรทานให้น้อยลง ทั้งทุเรียน ขนุน และขนมหวานต่าง ๆ
อาหารบำรุงหัวใจ มีอะไรบ้าง
สำหรับชนิดของอาหารที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น
1. ถั่วเปลือกแข็ง
ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วอัลมอนด์ แมคคาเดเมีย วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวและไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งถั่วเปลือกแข็งดังกล่าวก็ถูกนำมาแปรรูปเป็นโยเกิร์ตด้วยเช่นกัน หากใครอยากทราบว่าโยเกิร์ตจากธัญพืชเหล่านี้มีประโยชน์อย่างไร ติดตามต่อได้ที่ >> โยเกิร์ตจากพืชมีอะไรบ้าง กับ 5 เหตุผลที่ทำไมคนถึงเลือกกิน
2. สมุนไพร
สมุนไพรนานาชนิดอย่างขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม กะเพรา โหระพา สะระแหน่ มีสารพฤษเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ลดการอักเสบของหลอดเลือดและยังสามารถช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นด้วยในกรณีคนที่เป็นโรคหัวใจที่ต้องจำกัดอาหารรสเค็ม
3. โยเกิร์ต
แม้ผลการศึกษาประสิทธิภาพในด้านนี้ยังมีความไม่สม่ำเสมอ และอาจจะยังไม่อาจสรุปได้ว่าโยเกิร์ตจะช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ดีการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานโยเกิร์ตมากกว่า 200 กรัมต่อวันอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ลดน้อยลง ซึ่งจะได้ผลหรือไม่ได้ผลจริงก็ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยที่น่าเชื่อถือและรัดกุมกว่าในปัจจุบัน
กินโยเกิร์ตดีต่อโรคหัวใจอย่างไร ทำไมผู้ป่วยโรคหัวใจจึงควรรับประทาน
เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยจาก Cambridge University ได้ทำการสำรวจแบบ Systematic Review และ Meta-analysis เพื่อหาข้อพิสูจน์ของประโยชน์ของโยเกิร์ตที่เพิ่งถูกค้นพบว่ามีผลดีต่อหัวใจ ในหัวข้อ การกินโยเกิร์ตเป็นประจำ มีความสัมพันธ์กับการลดอัตราเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งหรือไม่ ?
หากอยากทราบว่าโยเกิร์ตต้านมะเร็งได้จริงหรือไม่ ติดตามต่อที่ >> มะเร็งเกิดจากอะไร ต้องเลือกกินอาหารประเภทไหนช่วยลดความเสี่ยง กินโยเกิร์ตช่วยได้หรือไม่?
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้ที่กินโยเกิร์ตเป็นประจำ มีความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease : CVD) ที่ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่กินโยเกิร์ต เนื่องด้วยโยเกิร์ตมีโพรไบโอติกสูง รวมถึงจุลินทรีย์ตัวดีในโยเกิร์ตที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจดีขึ้น
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าการกินโยเกิร์ตเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้ลดอัตราการเสียชีวิตได้ เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของ 2 สิ่งที่อาจมีความเชื่อมโยงกันเท่านั้น ไม่ได้วิจัยจากตัวโยเกิร์ตโดยตรง
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่กินโยเกิร์ต ที่ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เช่น คนกลุ่มนี้อาจเป็นกลุ่มรักสุขภาพอยู่แล้ว โดยนอกจากกินโยเกิร์ต พวกเขาอาจจะยังชอบออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารมีประโยชน์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่อย่างน้อยข้อมูลสถิติชุดนี้ก็ทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงบางอย่างของโยเกิร์ตกับการเกิดโรคหัวใจได้
อย่างไรก็ตามการกินโยเกิร์ตเป็นประจำเพื่อหวังผลด้านสุขภาพนั้น ต้องเลือกกินให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย เพราะในท้องตลาดปัจจุบันมีโยเกิร์ตให้เลือกซื้อหลากหลายชนิดมาก และส่วนใหญ่ก็มักจะมีน้ำตาลสูง ซึ่งการบริโภคน้ำตาลเกินปริมาณที่กำหนด แทนที่จะได้สุขภาพที่ดี แต่อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยหรือผู้ที่กำลังมีภาวะเสี่ยงจึงควรเลือกรับประทาน โยเกิร์ตธรรมชาติ หรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ จะดีกว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการเพิ่มค่าคอเลสเตอรอล ทั้งนี้เป็นโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกสูง หรือเลือกกินกรีกโยเกิร์ตแทนโยเกิร์ตธรรมดาก็จะช่วยได้มากเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่สนใจอยากรับประทานกรีกโยเกิร์ตและอยากหาเมนูใหม่ ๆ เพิ่มเติม ติดตามต่อที่ >> กรีกโยเกิร์ต ไม่มีน้ำตาล กับเมนู 3 สไตล์ที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด
โยเกิร์ตออร์แกนิคจาก Butterfly
โยเกิร์ตออร์แกนิคของเราไม่ใช่แค่วัวที่เลี้ยงแบบกินหญ้า Grass Fed เท่านั้นแต่เป็นวัวที่กินหญ้าออร์แกนิค 100% (certified organic) ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีใด ๆ ทั้งกับตัววัวและพื้นที่ในฟาร์มเราปล่อยวัวให้เดินเล่นในทุ่งกว้าง ไม่มีการกักขังเพื่อให้วัวของเราได้มีสุขภาพแข็งแรง อารมณ์ดี เพื่อให้ผลผลิตดีตามไปด้วย โดยเฉพาะการอุดมไปด้วยสารที่จำเป็นต่อกระดูก เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส จนเราได้รับการปิดฉลากจากมาตรฐานออร์แกนิค USDA (NOP) องค์กรที่ดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ดีเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าโยเกิร์ตของเราปลอดภัย ไร้สารเจือปนส่งตรงมาจากฟาร์มอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้าและดูสินค้าเพิ่มเติมสามารถติดตามผ่านไลน์ได้ที่นี่ LINE SHOP BUTTERFLY ORGANIC
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
กรีกโยเกิร์ต ไม่มีน้ำตาล กับเมนู 3 สไตล์ที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด
โยเกิร์ตจากพืชมีอะไรบ้าง กับ 5 เหตุผลที่ทำไมคนถึงเลือกกิน
plain yogurt คืออะไร แตกต่างจากโยเกิร์ตชนิดอื่นหรือไม่ ดีต่อสุขภาพหรือเปล่า?
常問問題
ได้ เพราะเป็นอาหารประเภทไขมันต่ำ ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ทั้งนี้ยังรวมถึง นมพร่องมันเนย และนมเปรี้ยว ที่ผู้ป่วยก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน
ถึงแม้จะมีหลักฐานทางการแพทย์ที่บอกชัดเจนว่า ไม่เพียงกาแฟจะไม่เป็นอันตรายกับโรคหัวใจ แต่ผู้ป่วยควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถดื่มได้ในแต่ละวันคือ 2-3 แก้ว หรือปริมาณคาเฟอีนที่ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมเท่านั้น