สารบัญบทความ
Toggle“นมโพรไบโอติกส์” (Probiotics) เมื่อพูดถึงนมชนิดนี้ขึ้นมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะนึกถึงนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรือกิมจิ ที่นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วย “โพรไบโอติกส์” จุลินทรีย์ตัวดีที่ช่วยในเรื่องขับถ่ายและระบบย่อยอาหารนั่นเอง จึงไม่น่าแปลกที่เราจะไม่ค่อยรู้หรือนึกถึงประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ของมันนัก
อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ มีการแนะนำจากกรมอนามัยให้ผู้ที่มีอาการ Long Covid รับประทาน โพรไบโอติกส์เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิให้ต้านไวรัสโควิด-19 หลังติดเชื้อในระยะยาว ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ให้ลึกและละเอียดมากขึ้นว่ามันคืออะไรกันแน่ ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องทานอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิมากที่สุด?
นมโพรไบโอติกส์ คืออะไร ทำไมถึงจึงช่วยกระตุ้นภูมิต้าน “ลองโควิด”
เป็นที่ทราบกันดีในบรรดาผู้ที่เคยติดโควิด-19 ว่าแม้จะทำการรักษาจนหายแล้ว แต่ก็ยังต้องระวังภาวะ Long COVID ที่อาจหลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าสิ่งที่สามารถช่วยผู้ป่วยให้ดีขึ้นจากอาการโควิดในระยะยาวได้นั้นกลับไม่ได้มีเพียงตัวยาจากแพทย์อย่างเดียว แต่กลับเป็น “นม” ที่มีจุลินทรีย์อย่างโพรไบโอติกส์ที่สามารถหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปได้อีกด้วย
โพรไบโอติกส์ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายบ้าง?
จากข้อมูลของสำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “โพรไบโอติกส์” มาจากภาษากรีกของคำว่า pro และ biotos ซึ่งหมายถึง สำหรับชีวิต หรือ ส่งเสริมชีวิต จึงแปลรวมๆ ได้ว่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมชีวิตและสุขภาพนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ชื่อที่ได้มานั้นไม่ได้ตั้งมาจากการทึกทักเอาเอง แต่มาจากการค้นพบของนักวิจัยที่สังเกตว่าประชากร “บัลแกเรีย” มีอายุยืนยาวจากการที่พวกเขานิยมบริโภค “นมหมัก” (นมเปรี้ยว/โยเกิร์ต) ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าการที่ชาวบัลแกเรียบริโภคนมหมักเป็นประจำ จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอายุยืน
ท้ายที่สุดจึงได้เกิดชื่อนี้ขึ้นมาและอนุมานภาพรวมได้ว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภคได้เช่นกัน
โพรไบโอติกส์ เหมาะกับใคร?
นอกจากจุลินทรีย์ตัวนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ผู้ที่เหมาะกับนมชนิดนี้ คือ ผู้ที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลแลคโตสในน้ำนมโค หรือ นมทั่วไป ซึ่งพบเกินกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทย โดยมีอาการถ่ายเหลว ไม่สบายท้อง และท้องอืด ก็สามารถเลือกดื่มนมปราศจากน้ำตาลแลคโตส (Lactose-free milk) ได้
ดังนั้น การรับประทานโยเกิร์ต หรือ นมที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหากับการรับประทานนมวัวทั่วไปเพราะเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ของเรา ซึ่งจะเติบโตได้มากขึ้น และผลิตสารที่ดีต่อสุขภาพขึ้นภายในลำไส้นั่นเอง
ทำไม โพรไบโอติกส์ จึงกระตุ้นภูมิต้านไวรัสในระยะลองโควิดได้ดี?
ต้องกล่าวก่อนว่า ภาวะ “Long COVID” หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ เช่น
- หอบเหนื่อย
- ไอเรื้อรัง
- นอนไม่หลับ
- ปวดหัว มึนงง
- คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะ Long COVID จึงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย และควรบริโภคอาหารที่มี “โพรไบโอติกส์ธรรมชาติ” ร่วมด้วย
โดยเจ้าจุลินทรีย์ในอาหารจะเป็นเกราะป้องกันด่านแรกที่ช่วยต่อต้านสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกาย ดังนั้น การรับประทานโพรไบโอติกส์จึงอาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ลดภาวะการย่อยอาหารผิดปกติ เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อ ป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน โรคภูมิแพ้ โรคตับ ไข้หวัด เป็นต้น
ทาน นม โพรไบโอติกส์ อย่างไรให้กระตุ้นภูมิได้ดีที่สุด
สำหรับคำถามที่ว่า โพรไบโอติกส์ กินตอนไหน ถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด คำแนะนำก็คือ ให้ลองดื่มนมหรือทานอาหารที่มีที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น กิมจิ โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง ฯลฯ ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ โดยกินทุกวัน วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว ให้สำรวจตัวเองว่าขับถ่ายดีหรือไม่ รู้สึกสบายท้องขึ้นหรือเปล่า
ซึ่งหากมีการขับถ่ายที่เป็นปกติดีก็ให้ทานต่อไปเรื่อยๆ เป็นประจำซึ่งอาจไม่ต้องทานทุกวันก็ได้ แต่ต้องทานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการรับประทานโพรไบโอติกส์ให้ได้ผลดี ต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆ หยุดๆ เพราะต้องมีเชื้อตัวใหม่ที่มีชีวิต ไปทดแทนพรรคพวกเก่าที่เคยตั้งรกรากอยู่ในลำไส้แล้วหลุดหายตายจากไปตามระยะเวลา
ทั้งนี้ นอกจากนมแล้ว ยังมี โพรไบโอติกส์ในอาหารประเภทอื่นๆ อีก ได้แก่ อาหารที่มีกากใยไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืช, ถั่วเมล็ดแห้ง, กล้วย, หัวหอมใหญ่, กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ส่งเสริมให้จุลินทรีย์แข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ทุกคนคงได้เห็นกันแล้วว่าแม้จะเป็นจุลินทรีย์ตัวจิ๋ว แต่โพรไบโอติกส์ก็ให้ประโยชน์มากกว่าที่คิดและอาจลบภาพจำที่มีประโยชน์เพียงช่วยในเรื่องขับถ่ายของใครหลายคนลงบ้าง ท้ายที่สุด สุขภาพที่ดี ย่อมมาจาก อาหารที่ดีและมีประโยชน์ หวังว่าทุกคนจะรักษาสุขภาพไม่ว่าจะอยู่ในช่วงโควิดหรือไม่ก็ตามเพื่อชีวิตที่มีความสุขและร่างกายที่แข็งแรง
สำหรับท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้และสนใจผลิตภัณฑ์นมแบบออแกนิคสามารถที่จะสั่งซื้อกับทางเราได้ เราได้รับมาตรฐาน USDA เป็นเจ้าเดียวที่ได้รับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ทำไมต้อง นมโพรไบโอติกส์ จาก Butterfly Organic Milk
Butterfly Organic Milk นมและโยเกิร์ตเจ้าแรกและเจ้าเดียวของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิกระดับสากลอย่าง USDA จึงรับรองได้เลยว่า Butterfly เข้าใจคนกลุ่มนี้จริง และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ปราศจากสารพิษทั้งระบบ
นมของ Butterfly ส่งตรงมาจากฟาร์มวัว จังหวัดสระบุรี ที่เลือกไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะใดๆทั้งพื้นที่และตัววัวได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันมายาวนานนับ 10 ปี และมีใบรับรองระดับสากลเช่นกัน คุณสามารถเดินหยิบซื้อนมสด นมเปรี้ยวโพรไบโอติกส์จาก Butterfly ได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตได้แล้ววันนี้ หรือสามารถสั่งสินค้าของเราได้ที่ LINE OFFICIAL Butterfly Organic เพราะ Butterfly พร้อมส่งมอบสิ่งดีๆ ให้ผู้บริโภคที่บรรจุอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์
常問問題
นอกจากนม และธัญพืชต่างๆ ตามที่กล่าวไปด้านบนแล้ว อาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สูง ประกอบด้วย อาหารหมักดอง อย่างกิมจิ มิโซะ เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น และแตงกวาดอง น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล (Apple-cider vinegar) ชีสบางชนิด เช่น คอทเทจชีส พาร์มีซานชีสดาร์กช็อกโกแลต และคอมบูฉะ (Kombucha) ทั้งนี้ ไม่ควรลืมว่าต้องรับประมาณในปริมาณที่พอดีด้วย เพื่อไม่ให้โทษต่อร่างกาย
คำแนะนำในการกินสำหรับคนทั่วไป ต้องอธิบายก่อนว่า เมื่อเราทานโพรไบโอติกส์เข้าไปนั้น มันจะสามารถถูกทำลายด้วย น้ำย่อย แอลกอฮอล์ และ ยาบางชนิด ดังนั้น การกินโพรไบโอติกส์ จึงควรกินก่อนอาหาร หรือ ระหว่างมื้อ เพราะในช่วงเวลานั้นกระเพาะจะมีค่าความเป็นกรดต่ำ ทำให้โพรไบโอติกส์โดนทำลายด้วยน้ำย่อยน้อยลง และ ลงจอดในลำไส้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง