butterfly organic
Search
Close this search box.

สู้อาการ “ลองโควิด” ด้วยนมโพรไบโอติกส์ ตัวช่วยสุดจิ๋วแต่มากไปด้วยประโยชน์

Picture of Butterfly Organic

Butterfly Organic

“นมโพรไบโอติกส์” (Probiotics) เมื่อพูดถึงนมชนิดนี้ขึ้นมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะนึกถึงนมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรือกิมจิ ที่นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วย “โพรไบโอติกส์” จุลินทรีย์ตัวดีที่ช่วยในเรื่องขับถ่ายและระบบย่อยอาหารนั่นเอง จึงไม่น่าแปลกที่เราจะไม่ค่อยรู้หรือนึกถึงประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ของมันนัก

อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ มีการแนะนำจากกรมอนามัยให้ผู้ที่มีอาการ Long Covid รับประทาน โพรไบโอติกส์เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิให้ต้านไวรัสโควิด-19 หลังติดเชื้อในระยะยาว ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ให้ลึกและละเอียดมากขึ้นว่ามันคืออะไรกันแน่ ทำไมถึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องทานอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิมากที่สุด? 

นมโพรไบโอติกส์ คืออะไร ทำไมถึงจึงช่วยกระตุ้นภูมิต้าน “ลองโควิด”

เป็นที่ทราบกันดีในบรรดาผู้ที่เคยติดโควิด-19 ว่าแม้จะทำการรักษาจนหายแล้ว แต่ก็ยังต้องระวังภาวะ Long COVID ที่อาจหลงเหลืออยู่ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าสิ่งที่สามารถช่วยผู้ป่วยให้ดีขึ้นจากอาการโควิดในระยะยาวได้นั้นกลับไม่ได้มีเพียงตัวยาจากแพทย์อย่างเดียว แต่กลับเป็น “นม” ที่มีจุลินทรีย์อย่างโพรไบโอติกส์ที่สามารถหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปได้อีกด้วย

โพรไบโอติกส์ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายบ้าง?

จากข้อมูลของสำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “โพรไบโอติกส์” มาจากภาษากรีกของคำว่า pro และ biotos ซึ่งหมายถึง สำหรับชีวิต หรือ ส่งเสริมชีวิต จึงแปลรวมๆ ได้ว่า เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมชีวิตและสุขภาพนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ชื่อที่ได้มานั้นไม่ได้ตั้งมาจากการทึกทักเอาเอง แต่มาจากการค้นพบของนักวิจัยที่สังเกตว่าประชากร “บัลแกเรีย” มีอายุยืนยาวจากการที่พวกเขานิยมบริโภค “นมหมัก” (นมเปรี้ยว/โยเกิร์ต) ในปริมาณมาก ดังนั้นจึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าการที่ชาวบัลแกเรียบริโภคนมหมักเป็นประจำ จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอายุยืน

ท้ายที่สุดจึงได้เกิดชื่อนี้ขึ้นมาและอนุมานภาพรวมได้ว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภคได้เช่นกัน 

โพรไบโอติกส์ เหมาะกับใคร?

นอกจากจุลินทรีย์ตัวนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ผู้ที่เหมาะกับนมชนิดนี้ คือ ผู้ที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลแลคโตสในน้ำนมโค หรือ นมทั่วไป ซึ่งพบเกินกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทย โดยมีอาการถ่ายเหลว ไม่สบายท้อง และท้องอืด ก็สามารถเลือกดื่มนมปราศจากน้ำตาลแลคโตส (Lactose-free milk) ได้

ดังนั้น การรับประทานโยเกิร์ต หรือ นมที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหากับการรับประทานนมวัวทั่วไปเพราะเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ของเรา ซึ่งจะเติบโตได้มากขึ้น และผลิตสารที่ดีต่อสุขภาพขึ้นภายในลำไส้นั่นเอง

ทำไม โพรไบโอติกส์ จึงกระตุ้นภูมิต้านไวรัสในระยะลองโควิดได้ดี?

ต้องกล่าวก่อนว่า ภาวะ “Long COVID” หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ เช่น 

  • หอบเหนื่อย 
  • ไอเรื้อรัง 
  • นอนไม่หลับ
  •  ปวดหัว มึนงง 
  • คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  

ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะ Long COVID จึงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายตนเองอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย และควรบริโภคอาหารที่มี “โพรไบโอติกส์ธรรมชาติ” ร่วมด้วย

โดยเจ้าจุลินทรีย์ในอาหารจะเป็นเกราะป้องกันด่านแรกที่ช่วยต่อต้านสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกาย ดังนั้น การรับประทานโพรไบโอติกส์จึงอาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ลดภาวะการย่อยอาหารผิดปกติ เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อ ป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน โรคภูมิแพ้ โรคตับ ไข้หวัด เป็นต้น

ทาน นม โพรไบโอติกส์ อย่างไรให้กระตุ้นภูมิได้ดีที่สุด

สำหรับคำถามที่ว่า โพรไบโอติกส์ กินตอนไหน ถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด คำแนะนำก็คือ ให้ลองดื่มนมหรือทานอาหารที่มีที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น กิมจิ โยเกิร์ต  กะหล่ำปลีดอง ฯลฯ ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ โดยกินทุกวัน วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว ให้สำรวจตัวเองว่าขับถ่ายดีหรือไม่ รู้สึกสบายท้องขึ้นหรือเปล่า

ซึ่งหากมีการขับถ่ายที่เป็นปกติดีก็ให้ทานต่อไปเรื่อยๆ เป็นประจำซึ่งอาจไม่ต้องทานทุกวันก็ได้ แต่ต้องทานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการรับประทานโพรไบโอติกส์ให้ได้ผลดี ต้องกินสม่ำเสมอต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆ หยุดๆ เพราะต้องมีเชื้อตัวใหม่ที่มีชีวิต ไปทดแทนพรรคพวกเก่าที่เคยตั้งรกรากอยู่ในลำไส้แล้วหลุดหายตายจากไปตามระยะเวลา

ทั้งนี้ นอกจากนมแล้ว ยังมี โพรไบโอติกส์ในอาหารประเภทอื่นๆ อีก ได้แก่ อาหารที่มีกากใยไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืช, ถั่วเมล็ดแห้ง, กล้วย, หัวหอมใหญ่, กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ส่งเสริมให้จุลินทรีย์แข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง 

อย่างไรก็ดี ทุกคนคงได้เห็นกันแล้วว่าแม้จะเป็นจุลินทรีย์ตัวจิ๋ว แต่โพรไบโอติกส์ก็ให้ประโยชน์มากกว่าที่คิดและอาจลบภาพจำที่มีประโยชน์เพียงช่วยในเรื่องขับถ่ายของใครหลายคนลงบ้าง ท้ายที่สุด สุขภาพที่ดี ย่อมมาจาก อาหารที่ดีและมีประโยชน์ หวังว่าทุกคนจะรักษาสุขภาพไม่ว่าจะอยู่ในช่วงโควิดหรือไม่ก็ตามเพื่อชีวิตที่มีความสุขและร่างกายที่แข็งแรง

สำหรับท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้และสนใจผลิตภัณฑ์นมแบบออแกนิคสามารถที่จะสั่งซื้อกับทางเราได้ เราได้รับมาตรฐาน USDA เป็นเจ้าเดียวที่ได้รับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

ทำไมต้อง นมโพรไบโอติกส์ จาก Butterfly Organic Milk 

Butterfly Organic Milk นมและโยเกิร์ตเจ้าแรกและเจ้าเดียวของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิกระดับสากลอย่าง USDA จึงรับรองได้เลยว่า Butterfly เข้าใจคนกลุ่มนี้จริง และตั้งใจคิดค้นผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ปราศจากสารพิษทั้งระบบ

นมของ Butterfly ส่งตรงมาจากฟาร์มวัว จังหวัดสระบุรี ที่เลือกไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะใดๆทั้งพื้นที่และตัววัวได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันมายาวนานนับ 10 ปี และมีใบรับรองระดับสากลเช่นกัน คุณสามารถเดินหยิบซื้อนมสด นมเปรี้ยวโพรไบโอติกส์จาก Butterfly  ได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตได้แล้ววันนี้ หรือสามารถสั่งสินค้าของเราได้ที่ LINE OFFICIAL Butterfly Organic เพราะ Butterfly พร้อมส่งมอบสิ่งดีๆ ให้ผู้บริโภคที่บรรจุอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์

คำถามที่พบบ่อย

อาหารที่มีโพรไบโอติกส์สูงมีอะไรบ้าง

นอกจากนม และธัญพืชต่างๆ ตามที่กล่าวไปด้านบนแล้ว อาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สูง ประกอบด้วย อาหารหมักดอง อย่างกิมจิ มิโซะ เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น และแตงกวาดอง น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล (Apple-cider vinegar) ชีสบางชนิด เช่น คอทเทจชีส พาร์มีซานชีสดาร์กช็อกโกแลต และคอมบูฉะ (Kombucha) ทั้งนี้ ไม่ควรลืมว่าต้องรับประมาณในปริมาณที่พอดีด้วย เพื่อไม่ให้โทษต่อร่างกาย

โพรไบโอติกส์ควรกินตอนไหนดี

คำแนะนำในการกินสำหรับคนทั่วไป ต้องอธิบายก่อนว่า เมื่อเราทานโพรไบโอติกส์เข้าไปนั้น มันจะสามารถถูกทำลายด้วย น้ำย่อย แอลกอฮอล์ และ ยาบางชนิด ดังนั้น การกินโพรไบโอติกส์ จึงควรกินก่อนอาหาร หรือ ระหว่างมื้อ เพราะในช่วงเวลานั้นกระเพาะจะมีค่าความเป็นกรดต่ำ ทำให้โพรไบโอติกส์โดนทำลายด้วยน้ำย่อยน้อยลง และ ลงจอดในลำไส้ใหญ่ได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า