สารบัญบทความ
Toggle.
นมพาสเจอร์ไรส์ คำที่ได้ยินกันมานานและดื่มกันอยู่เป็นประจำ ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่รักในการดื่มนม อย่างไรก็ตามอาจมีคนเข้าใจผิดว่า การพาสเจอร์ไรส์ คือชื่อของนมที่เราดื่ม แต่แท้จริงแล้วมันคือชื่อของกระบวนการถนอมอาหารที่ถูกนำมาใช้กับนมต่างหาก ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้
.
.
ทำความรู้จักการ “พาสเจอร์ไรส์” กระบวนการเก็บรักษานมยอดฮิตที่คนชอบดื่มนม..ไม่รู้ไม่ได้
.
ผลิตภัณฑ์นมเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม ทั้งยังบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยชรา แต่กระบวนการเก็บรักษานมนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพาสเจอไรส์ สเตอริไลซ์ หรือยูเอชที อย่างไรก็ตาม จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการเก็บรักษานมด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักมานาน แต่เชื่อได้ว่ามีผู้บริโภคส่วนน้อยมาก ๆ ที่จะรู้จักมันอย่างแท้จริง ในบทความนี้ Butterfly Organic จึงรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกรรมวิธีประเภทนี้มาฝากกัน
.
พาสเจอร์ไรส์ คืออะไร ทำไมมักถูกนำมาใช้กับการยืดอายุของ “นม”
.
การพาสเจอไรซ์ (pasteurization) เป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการใช้ความร้อน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค รวมทั้งจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย ซึ่งในกระบวนการจะต้องมีการใช้ความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะรวมถึงเวลาที่พอดีด้วย จึงจะถือว่าทำการถนอมอาหารด้วยวิธีนี้อย่างถูกต้อง
.
ทั้งนี้สาเหตุที่วิธีนี้มักถูกนำมาใช้เพื่อถนอมอายุของนมก็เพราะ การพาสเจอร์ไรส์เป็นวิธีที่คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย แต่สามารถลดความเสี่ยงของอาหารเป็นพิษและยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้หลายวัน อย่างไรก็ตามวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี ที่สลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน อาจสูญเสียไประหว่างกระบวนการพาสเจอไรซ์ สัมผัส สี และกลิ่นของอาหารก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้เล็กน้อย แต่เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติของมันแล้ว ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนำมายืดอายุของผลิตภัณฑ์นม และยังถือว่าเป็นเสมือนกระบวนการทำนมแปรรูปชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้
.
นมพาสเจอร์ไรส์ คืออะไร?
.
นมพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurized Milk) คือ ผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่งที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน 63-72 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ 15 วินาทีไปจนถึง 30 นาที เพื่อทำลายจุลินทรีย์บางส่วนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้นมเน่าเสีย โดยมีวัตถุประสงค์ให้น้ำนมปลอดภัยต่อการบริโภคและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ทำให้น้ำนมเน่าเสีย เช่น เอนไซม์ไลเพส (Lipase) ที่ทำให้เกิดกลิ่นหืน
.
จากนั้นทำให้น้ำนมเย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า และนำไปผ่านกรรมวิธีทำนมสดให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้ง ดังนั้น ภายหลังการพาสเจอร์ไรส์ จึงต้องเก็บรักษาน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส เพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ยังเหลือรอดอยู่ เช่น แบคทีเรียที่ทนความร้อนและสปอร์ของแบคทีเรีย ด้วยการใช้อุณหภูมิที่ไม่สูงมากในระยะเวลาไม่นาน นมพาสเจอร์ไรส์จึงยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและรสชาติหอมมันใกล้เคียงกับนมสดมากที่สุด แต่ก็เป็นนมที่มีอายุสั้นเพียงแค่ 7-10 วัน และต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาตลอดเวลาอีกด้วย
.
กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ มีกี่แบบ อะไรบ้าง?
.
โดยทั่วไปแล้ว การพาสเจอร์ไรส์จะใช้ความร้อนต่ำกว่าจุดเดือดของน้ำ หรือ 100 องศาเซลเซียส เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์จากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสียหรือฆ่าจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ รา เชื้อโรคต่าง ๆ แต่ยังไม่ทำลายสปอร์ของแบคทีเรียได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ไว้ที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อยับยั้งการงอกของสปอร์นั่นเอง โดยการพาสเจอไรซ์แบ่งได้เป็น…
.
วิธีใช้ความร้อนต่ำ-เวลานาน (Low Temperature, Long Time: LTLT)
.
คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 62-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลามากกว่า 30 นาที
.
วิธีใช้ความร้อนสูง-เวลาสั้น (High Temperature, Short Time: HTST)
.
คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 72-75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-240 วินาที
.
วิธีใช้ความร้อนสูงมาก-เวลาสั้น (High Heat, Short Time: HHST)
.
คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 85-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-25 วินาที
.
นอกจากผลิตภัณฑ์นมแล้ว เรายังนำการพาสเจอไรซ์ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารประเภทอื่น ๆ เช่น อาหารกระป๋อง น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม ไวน์ ฯลฯ ได้อีกด้วย
.
.
คุณสมบัติที่โดดเด่นของ ผลิตภัณฑ์พาสเจอร์ไรส์ โดยเฉพาะ “นม” มีอะไรบ้าง?
.
นมพาสเจอร์ไรส์ นอกจากจะมีดีกรีของการเป็นนมที่ผ่านกรรมวิธีที่ที่จะทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยกรรมวิธีการผ่านความร้อนที่สูงมากกว่า 100 องศาเซลเซียสแล้ว ก็ยังมีจุดโดดเด่นอีกหลายข้อทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น..
.
- ปราศจากจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค
- ลดจำนวนจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นสาเหตุของโรคลง (มีไม่เกิน 50,000 โคโลนี/มล.)
- เอนไซม์ไลเปสและเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสถูกทำลายหมด
- อายุการเก็บรักษาของนมในตู้เย็นนานขึ้น
- รสกลิ่นและสีของนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อย
- คุณค่าทางอาหารของนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อย
ซึ่งจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา ก็ถือได้ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคหลาย ๆ คนเลือกนมที่ผ่านกระบวนการนี้มารับประทานอีกด้วย
.
ข้อดี-ข้อเสีย ของการพาสเจอร์ไรส์
.
สำหรับข้อดีของการพาสเจอร์ไรส์เป็นการถนอมอาหารแบบชั่วคราว สามารถลดความเสี่ยงของอาหารเป็นพิษและยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้หลายวัน แต่ข้อเสียก็คือกรรมวิธีการพาสเจอร์ไรส์นั้นสามารถทำลายจุลินทรีย์ได้เพียงแค่บางชนิด เช่น จุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อร่างกาย แต่ไม่สามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้นมเน่าเสียได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ไว้ในที่อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส (ตู้เย็น) ตลอดเวลา หลังจาก 3-5 วัน เชื้อจุลินทรีย์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นจนทำให้นมบูดได้นั่นเอง
.
พาสเจอร์ไรส์อยู่ได้กี่วัน มีวิธีการเก็บรักษาอย่างไร?
.
นมพาสเจอร์ไรส์จะมีกำหนด โดยทั่วไปแล้วจะมีอายุประมาณ 7 วัน โดยที่นมสดต้องเก็บในสภาพเย็นตลอด แต่ถ้านมสดถูกทิ้งไว้ในอุณหภูมิธรรมดานอกตู้เย็นนาน ๆ โดยเฉพาะหน้าร้อน นมสดอาจจะเสียได้ภายใน 3 วันเท่านั้น
ดังนั้นก่อนดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ทุกครั้งควรรินใส่แก้ว สังเกตดูว่าถ้ามีตะกอนเป็นเม็ดขาว ๆ เกิดขึ้น แสดงว่านมนั้นเสีย แต่ถ้าไม่มีเม็ดขาว ๆ ควรตรวจสอบด้วยการชิมถ้ามีรสเปรี้ยวก็ไม่ควรดื่มอย่างเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง
.
.
นมสดพาสเจอร์ไรส์ VS นมออร์แกนิค ต่างกันอย่างไร เลือกนมแบบไหนดี?
.
สำหรับนมทั้ง 2 ประเภทนี้หลาย ๆ คนอาจคิดว่าเป็นนมประเภทเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากที่ได้กล่าวไปในช่วงแรกว่า “การพาสเจอร์ไรส์” คือชื่อของกระบวนการการถนอมอาหาร/การยืดอายุของนม แต่ “ออร์แกนิค” นั้น คือคำที่ระบุถึงแหล่งที่มาของนมและกระบวนการผลิต จึงทำให้นมทั้ง 2 แบบนี้ค่อนข้างแตกต่างกัน รวมถึงคุณประโยชน์และโภชนาการที่นมออร์แกนิคจะมีมากกว่า เพราะมาจากแหล่งธรรมชาติและสารอาหารไม่สูญหายไปตามกระบวนการการฆ่าเชื้อโรคอย่างการทำพาสเจอร์ไรส์ แต่ในขณะเดียวกันนมพาสเจอร์ไรส์จะเก็บได้ยาวนานกว่านมออร์แกนิคนั่นเอง
.
สำหรับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ระหว่างนมพาสเจอไรส์และนมออร์แกนิคนั้น อาจต้องดูความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าควรเลือกผลิตภัณฑ์นมชนิดใด เนื่องจากการตัดสินเลือกจะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของผู้บริโภคจากที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำข้อดี-ข้อเสียของนมทั้ง 2 แบบมาพิจารณาและตัดสินใจตามความเหมาะสมจะดีที่สุด
สำหรับใครที่ต้องการดื่มนมออร์แกนิค เพื่อจะได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและประโยชน์ที่มากขึ้น ทาง Butterfly Organic มีผลิตภัณฑ์ดี ๆ มาแนะนำ
.
.
น้ำนมโคออร์แกนิค พร่องมันเนย พาสเจอร์ไรส์ จาก Butterfly Organic
.
ผลิตภัณฑ์นมจากธรรมชาติผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วยกระบวนการ นมพาสเจอไรส์ ด้วยคุณสมบัติ
- ทำจากนมวัวออร์แกนิค พร่องมันเนย (นมอินทรีย์) 100% ที่เลี้ยงแบบ Organic Grass Fed
- ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีการใช้สารเคมี จาก USDA (NOP)
- หอมมันแบบธรรมชาติจริงๆ เพราะไม่มีการปรุงแต่งด้วยนมผง หรือแต่งกลิ่นสังเคราะห์ใดๆ
- รสชาติอร่อยแบบแตกต่าง ขึ้นกับอากาศแต่ละฤดูกาล และชนิดของหญ้าที่วัวกิน
ซึ่งเราขอแนะนำทางเลือกดี ๆ ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับคนรักสุขภาพ จาก Butterfly Organic แหล่งรวมผลิตภัณฑ์นมออร์แกนิคส่งตรงมาจากฟาร์มวัว จังหวัดสระบุรี ที่เลือกไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะใด ๆ ทั้งพื้นที่และตัววัวได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันมายาวนานนับ 10 ปี จนผ่านการรับรองมาตรฐานออร์แกนิคระดับสากลอย่าง USDA เจ้าเดียวในประเทศไทย สามารถสั่งสินค้าของเราได้ที่ LINE OFFICIAL Butterfly Organic
.
คำถามที่มักพบบ่อย (FAQ)
นม UHT หรือ ultra high temparature ต้มและเคี้ยวที่ temp 133 องศา เก็บในอุณหภูมิห้องไม่ต้องแช่เย็นได้ 10 เดือน ส่วนนมพาสเจอร์ไรท์ ต้มที่ temp 63-72 องศา ต้องแช่เย็น อายุสั้นกว่าแต่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางตัวจะยังคงอยู่