สารบัญบทความ
Toggle.
วิธีทำโยเกิร์ตเป็นเรื่องที่เจ้าของแบรนด์ทุก ๆ คนจำเป็นต้องทราบ หากอยากเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ เนื่องด้วยขั้นตอนการผลิตค่อนข้างมีความสำคัญ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เจ้าของแบรนด์ต้องทำการศึกษา ทั้งนี้นอกจากเรื่องการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการเรียนรู้หลักการสร้างแบรนด์ให้มีความพร้อมในการจำหน่ายสู่ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อเป็น Case Study แก่เจ้าของแบรนด์รายใหม่ Butterfly Organic จึงขอนำเสนอเรื่องราวของเราเพื่อเป็นตัวช่วยแก่เจ้าของแบรนด์มือใหม่ให้ศึกษาง่ายยิ่งขึ้น
.
โยเกิร์ตทำมาจากอะไร มีขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง
.
ก่อนที่เราจะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโยเกิร์ตนั้น อยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับโยเกิร์ตกันก่อน โยเกิร์ตคือการนำน้ำนมมาหมัก ดังนั้นส่วนผสมหลักในการทำโยเกิร์ตคงหนีไม่พ้น 2 สิ่งนี้ คือ
.
นม (Milk)
.
โดยชนิดของนมที่ใช้ในการทำโยเกิร์ตจะส่งผลต่อชนิดของโยเกิร์ต กล่าวคือถ้าใช้นมชนิด low fat ในการทำโยเกิร์ต ก็จะได้โยเกิร์ตที่เป็น low fat ด้วยเช่นกัน และยังมีการเติมสารคงตัว (Stabilizer) เพื่อทำให้โยเกิร์ตมีการเกาะตัวกันเป็นก้อนและป้องกันการแยกตัวของน้ำในโยเกิร์ต นอกจากนี้สามารถเติมสารให้ความหวาน (Sweetener) สารปรุงแต่งรส และผลไม้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของโยเกิร์ตให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
.
กล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture)
.
ซึ่งเป็นตัวที่จะนำมาหมักกับนมนั่นเอง กล้าเชื้อที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโยเกิร์ต คือ Lactobacillus bulgaricus และ Streptococcus thermophiles จัดเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม LAB (Lactic acid bacteria) เชื้อดังกล่าวมีความสามารถในการหมักน้ำตาลแล็กโทส (Lactose) ที่อยู่ในน้ำนมและเปลี่ยนให้เป็นกรดแลกติก เมื่อมีกรดแลกติกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่า pH ลดลง (มีความเป็นกรด) ส่งผลให้โยเกิร์ตมีรสเปรี้ยว และค่า pH ที่ลดลงนี้จะส่งผลให้โปรตีนที่อยู่ในน้ำนมเสียสภาพ (Denature) และจับตัวตกตะกอน (Curd) ทำให้เกิดน้ำนมที่มีลักษณะข้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโยเกิร์ตนั่นเอง
.
กระบวนการผลิตโยเกิร์ต อุตสาหกรรมมีขั้นตอนยังไง
.
กระบวนการผลิตโยเกิร์ตโดยทั่วไปการผลิตโยเกิร์ตจะเริ่มจากการทำลายจุลินทรีย์ในน้ำนมด้วยความร้อนโดยการพาสเจอไรซ์ (pasteurization) อาจทำได้ 2 วิธี คือ ใช้อุณหภูมิ 62.8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หรือใช้อุณหภูมิ 77 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วินาที ซึ่งสามารถทำลายจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ในน้ำนมและสปอร์ของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
.
วิธีการผลิตโยเกิร์ต
.
1. การเติมส่วนผสมของนมและปั่นให้เข้ากัน
.
เติมน้ำนมและส่วนประกอบของนมอื่น ๆ เพื่อทำให้ได้ลักษณะของโยเกิร์ตตามที่ต้องการ โดยปกตินิยมเติมนมผงเพื่อเพิ่มปริมาณของเวย์โปรตีน และยังมีการเติมส่วนผสมอื่น ๆ เช่น สารคงตัว (Stabilizer) สารให้ความหวาน (Sweetener) ต่าง ๆ ลงไป จากนั้นปั่นให้เข้ากัน
.
2. การพาสเจอไรซ์น้ำนม
.
นำน้ำนมที่ได้ทำการปั่นส่วนผสมต่าง ๆ ให้เข้ากันแล้วมาให้ความร้อน (Pasteurize) ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีหรือที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที การให้ความร้อนแก่น้ำนมนั้น จะทำให้โปรตีนเสียสภาพและจับตัวเป็นตะกอนเป็นก้อน เพื่อป้องกันการแยกตัวของน้ำในระยะของการเก็บรักษา นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำนม ซึ่งการลดปริมาณของเชื้อดังกล่าว จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture) ที่เราจะใส่ลงไป
.
3. การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
.
ปั่นเพื่อผสมส่วนผสมต่าง ๆ จนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยเพิ่มความเหนียวข้นของเนื้อโยเกิร์ต
.
4. การทำให้น้ำนมเย็นลง
.
ทำให้อุณหภูมิของนมลดลงจนเหลือประมาณ 42 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิดังกล่าวเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture)
.
5. การเติมกล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture)
.
เติมกล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture) ลงในน้ำนม
.
6. การรักษาอุณหภูมิ
.
น้ำนมจะถูกรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส จนกว่าค่า pH จะถึง 4.5 เพื่อให้กล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture) เกิดการหมัก เกิดน้ำตาลแล็กโทสในน้ำนม และเกิดลักษณะข้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโยเกิร์ตขึ้น
.
7. การทำให้เย็น
.
ลดอุณหภูมิของโยเกิร์ตให้อยู่ที่ 7 องศาเซลเซียส เพื่อหยุดการทำงานของกล้าเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ (Starter culture)
.
8. การเติมส่วนผสมอื่น ๆ
.
ในขั้นตอนนี้จะมีการเติมสารเพิ่มกลิ่นและรสเข้าไป ในกรณีของโยเกิร์ตชนิดคงตัว (Set type yogurt) จะวางผลไม้ไว้บริเวณด้านล่างของภาชนะ จากนั้นเทโยเกิร์ตลงไปด้านบนเพื่อทำให้เกิดการหมักต่อไป แต่สำหรับโยเกิร์ตชนิดกวน/ผสม (Swiss style yogurt) ผลไม้จะถูกปั่นผสมเข้ากับโยเกิร์ต และทำให้เย็นเพื่อทำการบรรจุต่อไป
.
9. การบรรจุ
.
เทโยเกิร์ตลงในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ
.
.
ขายโยเกิร์ตยากไหม อยากสร้างแบรนด์โยเกิร์ตของตัวเองต้องทำอะไรบ้าง?
.
โยเกิร์ตถือว่าเป็นสินค้าที่น่าสนใจ ฉะนั้นเราจะมาดูกันว่าหากอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจอาหารทั้งที ต้องรู้อะไรเกี่ยวกับโรงงานรับผลิตสินค้าประเภทนี้บ้าง แน่นอนว่าในการทำธุรกิจ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากอีกสิ่งหนึ่งคือ ขั้นตอนและกระบวนการการผลิตสินค้า เนื่องจากสินค้าจะสามารถจำหน่ายได้หรือสร้าง Customer Royalty ได้หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากคุณภาพของสินค้า ซึ่งก่อนที่สินค้าจะมีคุณภาพได้นั้นก็ต้องผ่านโรงงานที่มีขั้นตอนการผลิตที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน ยิ่งเป็นเรื่องของการผลิตอาหารด้วยแล้ว เจ้าของแบรนด์ยิ่งต้องให้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังนั่นเอง
จะสร้างแบรนด์ โยเกิร์ต SMEs ต้องเริ่มยังไง?
.
1.กำหนด เป้าหมายของแบรนด์ (Brand Purpose)
.
เป้าหมายทางการตลาด (Marketing goals) คือ วัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้ในแผนการตลาด ในที่นี้หลายธุรกิจมักจะร่างออกมาเป็นแบบแผนที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมรู้ว่าธุรกิจของเรามีเป้าหมายเป็นแบบนี้ และจะได้ช่วยกันระดมความคิดหากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สามารถพาให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายนั้นให้ได้
.
2.วางตำแหน่งสินค้าของแบรนด์ (Positioning)
.
หมายถึงคุณค่าเฉพาะตัวที่แบรนด์นำเสนอต่อลูกค้า นี่คือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่แบรนด์สร้างขึ้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์พร้อมกับการนำเสนอคุณค่า ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมลูกค้าถึงชื่นชอบแบรนด์ของพวกเขามากกว่าแบรนด์อื่น
.
3.สร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (Brand Differentiation)
.
กลยุทธ์ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเอาชนะคู่แข่งและเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
.
4.สร้างตัวตนของแบรนด์ (Brand Identity)
.
ในขั้นตอนนี้ คือ องค์ประกอบของคำ ภาพลักษณ์ ความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้รับจากตราสินค้า เอกลักษณ์ คือ จุดแข็งที่เสนอคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ต้องทำยังไงก็ได้ให้สินค้ามีความโดดเด่นกว่าโยเกิร์ตแบรนด์อื่น ๆ
.
5.สร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์ (Brand Trust)
.
การมีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือนั้นเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจ เพราะการมีสินค้าที่ดียังไม่เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อใจ ความเชื่อใจที่เรียกว่า Brand Trust เพราะสําหรับธุรกิจ SMEs การมี Brand Trust ยังคงถูกมองข้าม แต่อันที่จริงแล้วมีความสำคัญมาก ๆ
.
6.การทำความดีของแบรนด์ (Brand Beneficence)
.
การที่เราสร้างแบรนด์ด้วยคำนึงนึกถึงความดีที่เราจะทำให้แก่ผู้บริโภคและสังคม ไม่ใช่เพียงแต่การขายสินค้า หากต้องใส่ใจผู้คนและสังคมด้วย เช่น การขายสินค้าเกี่ยวกับอาหารที่จะนึกถึงแต่ความอร่อยไม่ได้ แต่ต้องนึกถึงด้านการปลอดสารพิษ หรือขั้นตอนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมนั่นเอง
.
โรงงานผลิตโยเกิร์ต เลือกแบบไหนดี?
.
โดยปกติแล้ว โรงงานผลิตสินค้าจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ OEM และ ODM ซึ่งสำหรับเจ้าของแบรนด์ oem มือใหม่ควรเลือกโรงงานประเภท OEM ก่อนจะเหมาะสมกว่า เพราะ OEM (Original Equipment Manufacturing) คือ การผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อกำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการลงทุนการผลิตอีกด้วย
.
โรงงานผลิตแบบ OEM ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรงงานที่เปิดใหม่ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ แต่เน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการการผลิตน้อย และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตของตนเองนั่นเอง
โรงงาน oem โยเกิร์ต สไตล์ Butterfly Organic ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร
.
ผลิตภัณฑ์ นม-โยเกิร์ต ออร์แกนิค ภายใต้แบรนด์ Butterfly Organic ได้รับนมจากวัวที่กินหญ้าออร์แกนิคและไม่ใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ให้ความใส่ใจต่อการเลี้ยงดูทุกขั้นตอน เพื่อให้วัวมีอารมณ์ดี โดยปล่อยวัวเดินเล่นในทุ่งกว้างใหญ่ ในส่วนของการผลิตจะไม่เติมสารปรุงแต่งรสชาติให้มีความข้นหรือมัน รสของนมวัว จะเป็นไปตามธรรมชาติและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ทำให้มีคุณภาพที่ดีกว่าและมีความปลอดภัยสูงกว่านมทั่ว ๆ ไป
.
อีกทั้งนมมอร์แกนิค จะมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 สูง ช่วยบำรุงสมองและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน มีวิตามิน A และ E ช่วยบำรุงสายตาและบำรุงผิว นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ไม่ทำให้อ้วน และช่วยลดอัตราการเกิดไขมันสะสมอุดตันในเส้นเลือด เพราะให้คอเลสเตอรอลต่ำ ซึ่งจะทำให้ Brand identity และ Brand Beneficence ของคุณชัดขึ้นด้วย
.
อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงของมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของโรงงานรับผลิตสินค้าเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ เจ้าของแบรนด์ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับโรงงานที่รับผลิตสินค้าไว้ให้มาก ๆ เพื่อที่จะได้เลือกอย่างละเอียดว่าโรงงานแบบไหนกันแน่ที่เหมาะกับแบรนด์ของเรา
.
แต่สำหรับผู้อ่านท่านใดที่กำลังมาหาโรงงาน OEM ที่ดีมีมาตรฐานในหมวดผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องดื่มแพลนต์เบส เราขอแนะนำ บริษัท บัตเตอร์ฟลาย ออร์แกนิค จำกัด เป็นโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล โดยมีบริการรับผลิต (ระบบพาสเจอไรซ์) เครื่องดื่ม เช่น น้ำนมธัญพืช น้ำนมถั่วต่าง ๆ ชา กาแฟ ฯลฯ โยเกิร์ตจากนมวัว หรือธัญพืช ทั้งชนิดดื่ม และตักรับประทาน อาหารหรือขนมในภาชนะปิดสนิท เช่น พุดดิ้ง ตลอดไปจนถึงบริการรับผลิตและจัดจำหน่าย / คิดสูตร ปรับสูตร / บรรจุภัณฑ์ ฉลาก / รับผลิต จัดเก็บ ขนส่ง / ดำเนินการเรื่องขอ อย. / ขอใบรับรอง (Organic Certification IFOAM,USDA) / เดินเรื่องและกระจายสินค้าเข้าห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ