butterfly organic
Search
Close this search box.

พรีไบโอติกส์คืออะไร ต่างจาก โพรไบโอติกส์ยังไง อันไหนจำเป็นกว่ากัน ?

Picture of Butterfly Organic

Butterfly Organic

พรีไบโอติกส์ คืออะไร เป็นคำถามที่หลายๆ คนอาจกำลังสงสัยเนื่องจากไม่คุ้นชินกับเจ้าจุลินทรีย์ชิดนี้มาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไร เนื่องจากเรามักจะได้ยินคำว่า โพรไบโอติกส์ เสียมากกว่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในมุมของจุลินทรีย์ที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานของลำไส้ให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ความจริงที่หลายๆ คนอาจไม่เคยรู้มาก่อนคือ พรีไบโอติกส์ และ โพรไบโอติกส์ คือของคู่กัน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้างนั้น ในบทความนี้ Butterfly Organic มีคำตอบมาให้ทุกคนได้ลองอ่านกัน

พรีไบโอติกส์ คืออะไร สำคัญกับร่างกายอย่างไร?

พรีไบโอติกส์  (prebiotic) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

จุลินทรีย์พรีไบโอติกส์ ทำงานยังไง?

ลำไส้ของมนุษย์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียหลายชนิดที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหารและช่วยส่งเสริมสุขภาพของลำไส้ให้ดีขึ้น เมื่อรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์เข้าไป กระบวนการย่อยอาหารจะสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อโพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารหรือลำไส้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับระบบทางเดินอาหารได้

พรีไบโอติกส์กับโพรไบโอติกส์ ต่างกันยังไง?

เชื่อว่าหลายคนน่าจะสับสนกันมานานกับประเด็นโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ว่าต่างกันอย่างไร ซึ่งหากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ

  • พรีไบโอติกส์นั้นเป็นสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้อย่างโพรไบโอติกส์นั้นสามารถหมักและย่อยสลายได้
  • โพรไบโอติกส์ เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เมื่อรับประทานโพรไบโอติกส์ เข้าไปแล้ว มันจะเข้าไปแทนที่จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีและเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยลดการติดเชื้อ จากจุลินทรีย์ก่อโรคและปรับสมดุลภายในลำไส้ มีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายดีขึ้น

กล่าวคือ ทั้งสองตัวนี้เป็นคนละชนิดกัน ทำหน้าที่ต่างกันอย่างที่บอกไว้ข้างต้น แต่หากจะขยายความแตกต่างไปอีกขั้น ต้องบอกว่าพรีไบโอติกส์เป็นไฟเบอร์ เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่มีชีวิต ต้องอาศัยโพรไบโอติกส์มาช่วยย่อยสลายให้ร่างกายดูดซึมไปได้ ส่วนโพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตและกินพรีไบโอติกส์เป็นอาหาร

พรีไบโอติกส์ โพรไบโอติกส์ คุณประโยชน์ต่างๆ ในการต้านโควิด

ทุกคนทราบหรือไม่ว่า การติดเชื้อโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระบบทางเดินอาหารและตับอีกด้วย อาการที่พบได้บ่อยคือ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งพบได้ทั้งขณะติดเชื้อโควิด-19 หรือหลังหายจากโควิด-19 แล้ว นั่นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้บริโภคจะต้องรับประทานอาหารที่มี พรี-โพรไบโอติกส์ เพื่อช่วยเสริมสร้างให้ลำไส้แข็งแรงขึ้น

เนื่องจากนักโภชนาการได้กล่าวไว้ว่า สารธรรมชาติที่จะสามารถลดผลข้างเคียงจากโควิด-19 ได้นั้นต้องมีคุณสมบัติหลักอยู่ 3 ประการคือ ต้านเชื้อจุลชีพได้, ต้านการอักเสบได้ และต้านอนุมูลอิสระได้ โดยทั้ง 3 ต้านนี้จะช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการของผู้ติดเชื้อโควิดได้ดี ซึ่งในผู้ที่ติดเชื้อนั้นไม่ได้มีอาการแค่ทางเดินหายใจ แต่ต้องรู้ไว้ว่าเชื้อโควิดทำให้เกิดอาการในระบบอื่น ๆ ได้อีกที่มักถูกมองข้ามก็คือ เชื้อโควิดติดทางเดินอาหาร หรือ เชื้อโควิดลงลำไส้นั่นเอง ดังนั้นการเน้นรักษาโควิดด้วยสมุนไพรหรือวิตามินที่ช่วยเฉพาะทางเดินหายใจเป็นหลักจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจุดอ่อนใหญ่ของร่างกายที่เชื้อฯ มักเข้าไปเกาะอยู่ได้คือ ทางเดินอาหาร ที่เป็นศูนย์รวมการสร้างสารต่าง ๆ ที่เราคาดไม่ถึง

ดังนั้น มี พรี-โพรไบโอติกส์ จึงเป็นสารจากธรรมชาติที่จำเป็นเนื่องจากมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ อีกทั้ง  เป็นจุลินทรีย์ที่ขาดไม่ได้ในแง่การเสริมภูมิเพราะช่วยให้ร่างกายของเราได้สารต้านการอักเสบหรือวิตามินและสารสื่อประสาทที่เป็นเกราะป้องกันโรคจากลำไส้ ในแง่ของเชื้อโควิดที่ชอบลงไปติดที่เซลล์เยื่อบุเอพิธีเลียมของลำไส้ได้ไม่ต่างจากเซลล์ที่ปอดนั้นก็จะไม่อาจเข้าไปในร่างกายเราได้ง่าย ๆ ด้วยกลไกของเชื้อโพรไบโอติกส์ช่วยสกัดกั้นเอาไว้อยู่นั่นเอง

พรีไบโอติกส์ประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

จากที่กล่าวไปว่า พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) เป็นสารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้ โดยสารดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ก็อาจช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเรื่องการเผาผลาญ และอาจมีประสิทธิภาพในด้านการต้านโรคบางชนิด เช่น โรคสมองจากโรคตับ โรคอ้วน ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น รวมทั้งอาจช่วยป้องกันภาวะผื่นผิวหนังอักเสบและโรคแพ้อาหารในเด็กทารกได้อีกด้วย

กินพรีไบโอติกส์อย่างไรให้ถูกวิธี

การกินพรีไบโอติกส์ให้ได้ผลต้องกินคู่กับโพรไบโอติกส์ พอได้อ่านแบบนี้หลายคนก็จะสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะจริงๆ โพรไบโอติกส์เปรียบเสมือนทหารที่พร้อมรบกับเชื้อโรคที่ปะปนเข้ามาในร่างกาย แต่ทหารจะมีแรงสู้รบก็ต้องมีเสบียงอาหารหรือพรีไบโอติกส์ด้วยจะได้มีแรงไปสู้รบกับเชื้อโรค เมื่อมีทั้งทหาร (โพรไบโอติกส์) กับเสบียงอาหาร (พรีไบโอติกส์) รวมกันแล้วจะเรียกว่า ซินไบโอติกส์ เมื่อกินคู่กันก็จะทำให้กองกำลังทหารของเราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

พรีไบโอติกส์กินตอนไหน ได้ผลมากที่สุด

การรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั้น ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารแบบดิบ เนื่องจากการต้มหรือการใช้ความร้อนอาจทำให้ปริมาณพรีไบโอติกส์ในอาหารชนิดนั้นลดลงได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะสามารถรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้บริโภคบางรายก็อาจเผชิญกับผลข้างเคียงบางอย่างได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใด ๆ ที่มีพรีไบโอติกส์ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนเสมอ

พรีไบโอติกส์ มีอะไรบ้าง ?

หากพูดถึง พรีไบโอติกส์ ธรรมชาติ นั้น ก็ต้องบอกก่อนว่าสามารถรับประทานได้จากอาหารหลายๆ ชนิด เช่น ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างไฟเบอร์และแป้งต้านการย่อย เช่น กระเทียม หัวหอม ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง แอปเปิล กล้วย และมะเขือเทศ เป็นต้น ซึ่งสามารถรับประทานได้ตามเวลามื้ออาหารปกติ ทั้งนี้ยังมีพรีไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริมด้วย ก็จะมีการรับประทานที่ต่างกันไป

โยเกิร์ตพรีไบโอติกส์ VS โยเกิร์ตโพรไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร ?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าใน โยเกิร์ต นมที่มีพรีไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว หรือของหมักดองที่มีรสเปรี้ยวต่างๆ นั้นจะต้องมีโพรไบติกส์อยู่แล้วเพราะเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติที่มาจากกระบวนการหมัก ซึ่งเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ช่วยลดการติดเชื้อ จากจุลินทรีย์ก่อโรคและปรับสมดุลภายในลำไส้ มีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายดีขึ้นนั่นเอง

แต่สำหรับโยเกิร์ตพรีไบโอติกส์นั้นก็จะเป็นตัวที่เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของโพรไบติกส์ให้ดีขึ้นตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น นั่นจึงถือว่าโยเกิร์ตทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นการทานเสริมเพื่อการทำงานของกันละกันเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้และระบบขับถ่ายดีมากยิ่งขึ้น

BUTTERFLY Pro Plus Drinking Yogurt จาก Butterfly Organic

อย่างไรก็ดี อาหารดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาหารธรรมชาติที่มีพรีไบโอติกส์เท่านั้น และคงเป็นการยากที่ผู้บริโภคจะสามารถตามรับประทานอาหารที่มีทั้งพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ในจานเดียวกัน ดังนั้น Butterfly Organic จึงขอนำเสนอโยเกิร์ตสูตรใหม่ที่จะทำให้การทานพรีไบโอติกส์ของคุณง่ายขึ้น

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ โพรพลัส โยเกิร์ตพร้อมดื่ม ตรา บัตเตอร์ฟลาย

  • มีชนิดจุลินทรีย์ที่ดีมากถึง 7 สายพันธุ์ (เชื้อโพรไบโอติกส์* 5 สายพันธุ์ + เชื้อโยเกิร์ต 2 สายพันธุ์)
  • มีปริมาณจุลินทรีย์มีชีวิต 40,000 หมื่นล้านตัวต่อขวด (Live Active Cultures > 40,000 CFU/Bottle)
  • มีทั้ง Probiotic และ Prebiotic  (ใช้ Inulin Fiber  (Fructo oligosaccharide)  เป็น Prebiotic)
  • ผสมระหว่าง Probiotic Yogurt กับ Super Food Super Fruits เช่น พุทราจีน ,  Acai berry และ  Kale
  • ใช้น้ำผึ้งแท้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้กล่าวมา ก็อาจทำให้ผู้บริโภคและผู้อ่านเห็นแล้วว่า ไม่จำเป็นต้องทานโยเกิร์ตแบบพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์แยกกันอีกต่อไป เพราะเราได้คำนึงถึงความสะดวกและความครบครันของคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคควรได้รับในคราวเดียว แถมยังเป็นจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวที่มาจากแหล่งธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งหากผู้บริโภคท่านใดสนใจก็มีให้เลือกแล้วถึง 5 รสชาติด้วยกัน เหมาะสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ที่รักสุขภาพ และที่สำคัญทานง่ายอีกด้วย (สามารถสั่ง Pro Plus Drinking Yogurt ผ่าน LINE OFFICIAL Butterfly Organic ได้แล้ววันนี้ )

FAQ คำถามที่พบบ่อย

พรีไบโอติกส์ ช่วยเรื่องอะไร

ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเรื่องการเผาผลาญ และอาจมีประสิทธิภาพในด้านการต้านโรคบางชนิด เช่น โรคสมองจากโรคตับ โรคอ้วน ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้ และโรคเบาหวาน เป็นต้น

พรีไบโอติกส์ จำเป็นไหม

จำเป็น เพราะพรีไบโอติกส์จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมีประโยชน์และจุลินทรีย์ชนิดดี อีกทั้งจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งก็พบว่า พรีไบโอติกส์มีคุณสมบัติช่วยดูดซึมแคลเซียมให้ร่างกายได้ดีขึ้น จึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า