butterfly organic

นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน ควรเป็นนมชนิดไหน ทานอย่างไรจึงจะปลอดภัย

Butterfly Organic

Butterfly Organic

สารบัญบทความ

นมสำหรับคนเป็นเบาหวาน เป็นนมที่ต้องถูกคัดสรรเป็นพิเศษ ผู้อ่านหลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อเราพูดถึง “นม” แน่นอนว่ามันคือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ซึ่งต้องเกริ่นไว้ก่อนว่า ภาวะเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถขับน้ำตาลออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือการรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มบางชนิดนั่นเอง ซึ่งนมก็คือหนึ่งในนั้น ดังนั้นในบทความนี้ Butterfly Organic จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดื่มนมของผู้ป่วยโรคนี้ว่าควรเลือกดื่มอย่างไร นมชนิดไหนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีนมชนิดไหนบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อมๆ กัน แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้แบบพอสังเขปกันก่อน

เบาหวาน คือ…

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาหารที่รับประทานเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส ถ้ารับประทานอาหารมากเกินไป น้ำตาลที่นำไปใช้ได้ไม่หมดจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดถ้ามีมากก็จะออกมาในปัสสาวะได้ เอ็มไซม์อินซูลิน ซึ่งสร้างจากตับอ่อนเป็นตัวการนำกลูโคสที่มีนี้เข้าเซลล์ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ถ้าอินซูลินมีน้อยหรือตับอ่อน สร้างอินซูลินไม่เพียงพอ แต่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดีทำให้ร่างกายใช้กลูโคสไม่ได้ จึงทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น

ซึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุดอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท เป็นต้น โดยสามารถควบคุมเบาหวานได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต

โภชนาการ อาหาร เบาหวาน ที่ควรเป็น เพื่อความปลอดภัย

สำหรับหลักโภชนาการที่สำคัญของผู้ป่วย คือ การควบคุมอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งรับประทานได้ 3 ประเภท

1. อาหารที่ “ไม่ควร” รับประทาน

น้ำตาลทุกชนิดเช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปิ๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ขนมหวานต่างๆ    ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด อินทผลัม รวมถึงผลไม้กระป๋อ; อาหารปรุงแต่งด้วยไขมันอิ่มตัว เช่นไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ เนยเทียม ครีม

2. อาหารที่รับประทานได้แต่ต้อง “จำกัดปริมาณ”

อาหารประเภทข้าว แป้ง เช่น ขนมปัง เผือก มัน ฟักทอง อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การรับประทานข้าวน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกเป็น ข้าวกล้อง หรือ ข้าวไรซ์เบอร์รี เพราะมีใยอาหารสูง

3. อาหารที่รับประทานได้ “ไม่จำกัดปริมาณ”

ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน ทุกมื้ออาหาร รับประทานให้หลากหลายสี อาหารเหล่านี้แคลอรีต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ได้แก่ ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟัก แตงกวา น้ำเต้า ถั่วฝักยาว ถั่วงอก เป็นต้น จะรับประทานในรูปผักสดหรือผักต้มก็ได้ แต่ไม่แนะนำในรูปน้ำผักปั่น โดยเฉพาะผักปั่นแยกกากทำให้เราไม่ได้รับใยอาหารเท่าที่ควร

Butterfly live in Bangkok !!
New Distribution Hub

โรงงานผลิตเครื่องดื่ม OEM บริการครบวงจร มาตรฐานสากลมาตรฐานระดับโลกเเบบครบวงจร ผลิตสินค้าทุกชิ้นภายใต้มาตรฐานระดับสากลไม่ว่าจะเป็น HACCP, Halal และ USDA Organic


นอกจากการรับผลิตสินค้า OEM แล้ว เรายังมี Butterfly Hub บริการให้เช่าพื้นที่ห้องเย็น พร้อมส่งสินค้าถึงมือลูกค้า นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ให้ประชุม ออฟฟิศให้เช่า และพื้นที่คาเฟ่ให้ทุกคนมาขายสินค้า และแชร์แลกเปลี่ยนแนวคิด สำหรับสังคมคนรักสุขภาพ หากสนใจติดต่อเรา Butterfly Hub

หลักในการทาน อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง?

ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีความหวานต่ำ ปรับสัดส่วนอาหารให้เหมาะสม อาหารสามารถแยกกลุ่มต่างๆ ดังนี้กลุ่มที่ 1 ข้าว แป้งต่างๆ อาหารจำพวกเส้น ขนมปัง เผือกมัน ถั่วเมล็ดแห้ง ผู้เป็นเบาหวานรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่ต้องกำหนดสัดส่วนให้เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องงดหรือจำกัดมากเกินไป เพราะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ

กลุ่มที่ 1 ข้าว

แป้ง 1 ส่วน (1ทัพพี) ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี

กลุ่มที่ 2 ผักชนิดต่างๆ

อาหารกลุ่มนี้ มีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารมาก ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 3-4 ทัพพีทั้งผักสดและผักสุก โดยเฉพาะผักใบเขียว  กลุ่มผักต่างๆ 1 ส่วน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

กลุ่มที่ 3 ผลไม้

ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ถึงแม้จะมีใยอาหาร แต่หากรับประทานมากกว่าปริมาณที่กำหนด จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อวันละ 2-3 ครั้งหลังอาหาร ควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ

กลุ่มที่ 4 เนื้อสัตว์ (ไม่ติดมัน)

อาหารกลุ่มนี้ให้โปรตีนเป็นหลัก ผู้เป็นเบาหวานควรได้รับทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อนกินข้าวพูนน้อยๆ และควรเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง กลุ่มเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน (2 ช้อนพูน) ประกอบด้วย โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม ให้พลังงาน 55-75 กิโลแคลอรี

กลุ่มที่ 5 ไขมัน

ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันหมูในการประกอบอาหารทั่วไป นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด อาหารที่มีกะทิ อาหารที่มีไขมันทรานส์  กลุ่มไขมัน 1 ส่วน (1 ช้อนชา) ประกอบด้วย ไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี

กลุ่มที่ 6 น้ำนม (วัว)

ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ หลีกเลี่ยงนมรสหวาน นมเปรี้ยว โยเกิร์ตพร้อมดื่ม เพราะนมเหล่านี้มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูง  ส่วนนมถั่วเหลืองถือว่าเป็นนมที่เป็นโปรตีนสูงใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ อีกทั้งมีไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่านมวัว ช่วยลดไขมันคลอเลสเตอรอล แต่มีข้อเสียคือปริมาณแคลเซียมน้อยกว่านมวัว ทั้งนมวัวและนมถั่วเหลืองต้องสังเกตปริมาณน้ำตาลที่ระบุบนฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนบริโภค

กลุ่ม น้ำนม (วัว) 1 ส่วน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต12 กรัม โปรตีน 8 กรัม  ให้พลังงานแตกต่างกันตามปริมาณไขมันในน้ำนมชนิดนั้นๆ

  • นมครบส่วนหรือนมสด (whole Milk) 240 มิลลิลิตร  ประกอบด้วยไขมัน 8 กรัม ให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี
  • นมพร่องมันเนย (Low Fat Milk) 240 มิลลิลิตร  ประกอบด้วย ไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี
  • นมขาดมันเนย (Slim Milk or Nonfat Milk) 240 มิลลิลิตร  ประกอบด้วยไขมันน้อยมากให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรีกลุ่มน้ำนมถั่วเหลือง 1 ส่วน 240 มิลลิลิตร ประกอบด้วย โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 75 กิโลแคลอรี (ไม่เติมน้ำตาล)

เครื่องดื่มสําหรับ ผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง?

ควรเป็นเครื่องดื่มที่มีระดับ Zero หรือ Low-calorie เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเมื่อเลือกเครื่องดื่ม บีบมะนาวสดหรือน้ำมะนาวลงในเครื่องดื่มเพื่อทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ร้านอาหารนี่เป็นเครื่องดื่มที่เป็นมิตรกับเบาหวานที่สุด นอกจากนี้ยังมีทางเลือกเมนูที่ดีต่อเบาหวานด้วย เช่น

1. น้ำ

เมื่อพูดถึงความชุ่มชื้น น้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน นั่นเป็นเพราะมันจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดการคายน้ำได้

2. ชา

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าชาเขียวมีผลดีต่อสุขภาพโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตและลดระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายได้

3. กาแฟ

การศึกษาในปี 2012 พบว่าการดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ นักวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงลดลงต่ำกว่าสำหรับคนที่ดื่ม 2-3 แก้วต่อวัน นี้ยังถือเป็นจริงสำหรับผู้ที่ดื่ม 4 แก้วหรือมากกว่าต่อวัน

4. น้ำผลไม้และน้ำผัก

เลือกใช้น้ำปราศจากน้ำตาลและน้ำผลไม้ 100% โดยเฉลี่ยแล้ว 4 ออนซ์มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัมและประมาณ 60 แคลอรี นอกจากนี้ยังสามารถลองเลือกน้ำผลไม้ ผสมผักใบเขียวคื่นฉ่ายหรือแตงกวากับกำมือของผลเบอร์รี สำหรับเพิ่มรสชาติ และเพิ่มวิตามินกับแร่ธาตุ

5. นมไขมันต่ำ

ผลิตภัณฑ์จากนมมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ แต่เป็นอาหารที่เพิ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยเหมือนกัน โปรดเลือกนมที่ไขมันต่ำหรือไม่อ้วน และจำกัดตัวเองไว้ที่หนึ่งหรือสองแก้วต่อวัน

นมคนเป็นเบาหวาน ควรมีลักษณะอย่างไร

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกชนิดของนมให้เหมาะสมกับสุขภาพและคำนึงถึงระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก

อีกทั้ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น การดื่มนมที่มีแคลเซียมสูงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ นมยังมีส่วนช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร ยับยั้งการอักเสบ ลดความเสี่ยงต่อการภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นมทุกประเภทจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานควรศึกษาประเภทของนมที่จะดื่มอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

นม สำหรับเบาหวาน มีกี่ชนิด และมีชนิดไหนบ้างที่สามารถดื่มได้

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีหลายชนิด แต่ควรเน้นการดื่มนมชนิดที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ ได้แก่

  • นมออร์แกนิคแท้ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม และโปรตีน 8 กรัม เป็นนมวัวที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีรสชาติเข้มข้น สามารถนำมาเติมผสมกับกาแฟและชาได้
  • นมอัลมอนด์ ในปริมาณ 1 ถ้วย ให้หลังงาน 40 แคลอรี อุดมด้วยแคลเซียม มีรสชาติหวานเล็กน้อย ปราศจากแลคโตส หรือน้ำตาลนม
  • นมถั่วเหลือง ในปริมาณ 1 ถ้วย อุดมด้วยวิตามินบี 12 และคาร์โบไฮเดรต 4 กรัม
  • นมแพะ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 11 กรัม และโปรตีน 8 กรัม
  • นมจากเมล็ดแฟลกซ์ ในปริมาณ 1 ถ้วย ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 25 แคลอรี อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และปราศจากสารเคมี

นม ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงนมรสหวานที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะนมที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและมีไขมันทรานส์สูง เพราะนมประเภทนี้จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

นมพร่องมันเนย มีไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม และน้ำตาล 18 กรัม

  • นมปรุงแต่ง มีไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 24 กรัม น้ำตาล 22 กรัม
  • นมมะพร้าว ถึงแม้ว่านมประเภทนี้จะมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 10 กรัมต่อถ้วย แต่มีไขมันสูงถึง 5 กรัม

การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในการดื่มนมควรระวังเรื่องใดเป็นพิเศษ?

นมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากเลือกชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแล้ว ควรบริโภคนมในปริมาณที่พอเหมาะ และควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียมจากแหล่งอื่นด้วย หากไม่แน่ใจว่าการดื่มนมส่งผลอย่างไรต่อภาวะเบาหวาน หลังดื่มนมควรตรวจค่าน้ำตาลในเลือด และสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ชอบดื่มนม สามารถบริโภคอาหารจากแหล่งโปรตีนและแคลเซียมอื่น ๆ แทน

โรคเบาหวาน การป้องกันได้ไหม มีวิธีการอย่างไรบ้าง?

การป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานจะมุ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification) หมายถึง การปรับวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบด้วยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถทำได้ทุกคน โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณน้ำตาลคือเรื่องที่ไม่ควรละเลย ในแต่ละวันไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา รวมทั้งการควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพราะไม่เพียงแต่จะป้องกันโรคเบาหวานเท่านั้น ยังสามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อต่าง ๆ ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้นมจะเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศ ทุกวัย อย่างไร แต่เมื่อถูกจัดให้เป็นเครื่องดื่มของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็จำเป็นต้องคัดสรรและพิถีพิถันในการเลือกทั้งสิ้น เพราะหากเลือกผิด ก็อาจไปกระตุ้นให้ภาวะอาการแย่ลงได้เลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจึงควรเลือกผลิตภัณฑ์นมที่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้ป่วยได้ในเรื่องของการคุมน้ำตาลและไขมัน รวมถึงต้องดีต่อสุขภาพด้วยในเวลาเดียวกัน

ผลิตภัณฑ์จาก Butterfly Organic ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ฟาร์มของเรานั้นเน้นผลิตและคัดสรรผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบ 100% เพื่อให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่แข็งแรงและห่างไกลสารเคมีมากที่สุด นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราพิถีพิถันในทุกๆ ขั้นตอนตั้งแต่การรีดนมวัวจากแม่โคนมที่เลี้ยงตามธรรมชาติตลอดจนส่งถึงมือผู้บริโภคโดยสมบูรณ์

สำหรับผลิตภัณฑ์จากทาง Butterfly Organic ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีให้เลือกมากมาย เช่น

  • Organic Milk-นมออร์แกนิก
  • Plant Base Milk-นมพืชต่างๆ
  • Organic Set Yogurt-โยเกิร์ตออร์แกนิก (โยเกิร์ตธรรมชาติ)
  • Organic Greek Yogurt-ออร์แกนิกกรีกโยเกิร์ต
  • Pro Plus Probiotic Yogurt-โยเกิร์ตโพรไบโอติกส์

ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไขมันต่ำ น้ำตาลน้อยแล้ว ผู้ป่วยก็จะได้รับคุณค่าทางอาหาร ความสะอาด และปลอดภัย เนื่องจากสินค้าของเราเป็นนมออร์แกนิกอีกด้วย ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้าและดูสินค้าของเราเพิ่มเติม สามารถติดตามผ่านไลน์ได้ที่นี่ (คลิก) เพื่อให้สินค้าของเราได้เข้าถึงผู้ป่วยได้มากขึ้น และได้เป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยเป็นเบาหวานสุขภาพดีง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

FAQ

เบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ ทานนมได้ไหม?

นม ถือเป็นอาหารคนท้องที่สำคัญและเป็นเครื่องดื่มที่คุณแม่ทุกคนควรทาน เพราะในน้ำนมเป็นแหล่งรวมสารอาหารของโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย แต่สำหรับกรณีของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเลือกดื่มนมจืดชนิดพร่องมันเนย เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันในนม หรือจะเลือกดื่มนมถั่วเหลืองแทนได้

ผู้ป่วยเบาหวานกินอะไรได้บ้าง

คนที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอาจต้องเลือกรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารคนเป็นเบาหวานที่ต้องประกอบไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และควรเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผัก ผลไม้ รวมถึงอาหารที่มีแคลอรีและไขมันต่ำนั่นเอง

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า