butterfly organic

จุลินทรีย์ในอาหารมีกี่ชนิด และชนิดไหนที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเรา

Butterfly Organic

Butterfly Organic

จุลินทรีย์ในอาหาร เชื่อได้ว่าเป็นคำที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันดีโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานจุลินทรีย์เหล่านี้เพื่อคุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ซึ่งคงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าเมื่อพูดถึง “จุลินทรีย์” หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงแบคทีเรีย หรือเชื้อบางอย่างที่ดูไม่ค่อยน่ากินนัก แต่เราก็มักจะรับประทานมันอยู่บ่อย ๆ 

ยกตัวอย่างเมนูง่าย ๆ ที่เราจะทราบกันดีว่ามีจุลินทรีย์ชนิดดีอยู่ เช่น โยเกิร์ต และ นมเปรี้ยว ที่เราสามารถหารับประทานได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้บริโภคหลายคนอาจคิดว่าจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารดังกล่าวมีประโยชน์ช่วยแค่เพียงการลดน้ำหนักและการขับถ่ายเท่านั้น  แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าสิ่งที่เราคิดอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปเพราะจุลินทรีย์ดังกล่าวอาจมีประโยชน์กว่าที่ทุกคนคิด

ดังนั้น ในบทความนี้ Butterfly Organic จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับจุลินทรีย์แต่ละชนิดที่อยู่ในอาหารประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งจุลินทรีย์ตัวดีที่อยู่ในโยเกิร์ตมาฝากผู้อ่าน เพื่อให้ได้ศึกษากันว่าแท้จริงแล้วเจ้าจุลินทรีย์พวกนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไรกันแน่

จุลินทรีย์ในอาหาร คืออะไร มีกี่ชนิด และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

แม้จะมีภาพจำว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราเสมอไป ยังมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพที่เราควรรักษาเอาไว้ให้อยู่ในลำไส้ของเราไปนาน ๆ โดยบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไปในท้องเป็นประจำ

จุลินทรีย์ดี ๆ ที่มากับอาหารอร่อย ๆ ไม่ได้มาพร้อมกับรสชาติอาหารที่ดีเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร และช่วยในการทำงานของระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าอาหารที่มีจุลินทรีย์บางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนี้ สามารถช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารง่ายขึ้น และการขับถ่ายง่ายขึ้นนั่นเอง

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอาหารแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง 

อาหารแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ อาหารกระป๋อง ฯลฯ มักจะพบว่า มีจุลินทรีย์หลายชนิดปะปนอยู่ทั้งที่มนุษย์ใช้ในการถนอมอาหารหรือแปรรูปอาหาร ปนเปื้อนได้เองและด้วยสาเหตุอื่น จุลินทรีย์ที่มักพบในอาหาร ได้แก่

1. แบคทีเรีย (Bacteria)

เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด จัดอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) การดำรงชีพมีทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ย่อยสลายและปรสิต สืบพันธุ์ด้วยการแบ่งตัว พบได้ทั่วไปในน้ำ ในดิน ในอากาศร่างกายสิ่งมีชีวิตอื่น นิยมแบ่งชนิดแบคทีเรียตามลักษณะของรูปร่าง แบ่งได้ 3 ชนิด คือ

คอคคัส (Coccus) มีรูปร่างกลม เช่น Staphylococcus aureus เป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนย เนยแข็ง เป็นต้น

บาซิลลัส (Bacillus) มีรูปร่างแบบทรงกระบอก หรือท่อน ใช้ในอุตสาหกรรมท้าไวน์ น้ำส้มสายชู และ Lactobacillus ใช้ทำนมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต

สไปริลลัม (Spirillum) รูปร่างเป็นเกลียว เช่น Leptospira interogans ทำให้เกิดโรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส ในคนและสัตว์

2. รา (Fungi)

จัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) บางชนิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมองเห็นด้วยตาเปล่า มีทั้งที่เป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นเส้นใยยาว มีสีดำ สีเขียว สีส้ม ฯลฯ บางชนิดเป็นปรสิต สืบพันธุ์ด้วยการแบ่งตัว การหักหรือขาดออกของเส้นใย การแตก หน่อ หรือการสร้างสปอร์ โดยคนเรานิยมใช้ราหมักอาหาร เช่น เนยแข็งบางชนิด เป็นต้น

3. ยีสต์ (Yeast)

เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักร ฟังไจ (Kingdom Fungi) มีเซลล์เดียว รูปร่างกลม หรือรี เราใช้ประโยชน์จากยีสต์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ใช้หมักน้ำผลไม้ ใช้หมักทำข้าวหมาก ใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น สาโท อุกระแช่ เป็นต้น และยังใช้หมักทำแอลกอฮอล์จุดไฟ ใช้หมักขนมปัง ช่วยให้อาหารบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้นด้วย

จุลินทรีย์อยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง

ในระบบย่อยอาหารของเราทุกคน ล้วนมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อาศัยอยู่ นั่นก็คือจุลินทรีย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญกับสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าวก็มีอยู่ในอาหารหลายประเภทด้วยกัน เช่น

จุลินทรีย์ในอาหารหมัก

การหมัก (fermentation) เป็นการถนอมอาหาร (food preservation) ที่ใช้จุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย (bacteria) ยีสต์ (yeast) หรือ รา (mold) ซึ่งเป็นเชื้อเริ่มต้น (starter) 

ซึ่งอาจเป็นเชื้อบริสุทธิ์ เชื้อผสม เช่น ลูกแป้งโคจิ หรือเชื้อที่ปนเปื้อนจากธรรมชาติเปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์ในอาหารเกิดเป็นสารต่าง ๆ เช่น กลิ่น เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alocohol) กรดอินทรีย์ (organic acid) คาร์บอนไดออกไซด์ 

โดยการหมักสามารถเกิดได้ทั้งในสภาวะที่มีอากาศ (areobic fermentation) หรือไม่มีอากาศ (anaerobic fermentation)

อาหารหมักดองบางประเภท มีจุลินทรีย์ที่เราควรรักษาเอาไว้ในลำไส้ เช่น

– โยเกิร์ต

– นมเปรี้ยว

– กิมจิ

– ชาหมัก (คอมบูชา)

– ถั่วหมัก

จุลินทรีย์ในอาหารแห้ง

อาหารแห้ง (dried food หรืออาจเรียกว่า dehydrated food) หมายถึงอาหารที่ผ่านการอบแห้ง หรือการตากแห้ง (drying หรือ dehydration) เพื่อลดปริมาณน้ำในอาหาร 

เป็นการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง เพราะการลดปริมาณน้ำเป็นการหยุดการทำงานของเอนไซม์ (enzyme) และชะลอการเจริญของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมเสียของอาหาร (food spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) โดยมักจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรีย ยีสต์และราเช่นเดียวกับอาหารหมัก

โดยตัวอย่างอาหารแห้งที่มีจุลินทรีย์ เช่น

– ผักแห้ง

– ผลไม้แห้ง

– อาหารแห้งจากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ

– เครื่องดื่มผงสำเร็จรูป เช่น ชา กาแฟ นมผง กาแฟผง

– เมล็ดธัญพืช (cereal grain)

– ถั่วเมล็ดแห้ง (legume)

ประโยชน์ จุลินทรีย์ในอาหารและโยเกิร์ตมีดีต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

จากที่กล่าวไปว่าเชื้อจุลินทรีย์นั้น ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราเสมอไป ยังมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพที่เราควรรักษาเอาไว้ให้อยู่ในลำไส้ของเราไปนาน ๆ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ตัวดีที่แฝงอยู่ในเมนูอาหารต่าง ๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมาย เช่น

ช่วยผลิตวิตามินหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย 

โดยจุลินทรีย์ที่ดีจะผลิตวิตามินบี 1, บี 2, บี 6, บี 12 วิตามินอี วิตามินเค กรดแพนโทเทนิก และกรดโฟลิก เป็นต้น

จุลินทรีย์ตัวดีคอยรักษาสุขภาพลำไส้ 

โดยสร้างกรดแล็กติกและกรดน้ำส้ม ทำให้สภาพแวดล้อมของลำไส้เป็นกรด ซึ่งไม่เพียงเหมาะแก่การย่อยอาหาร แต่ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร

กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 

โดยลดจำนวนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายจากทางลำไส้ เนื่องจากโปรไบโอติกช่วยให้เชื้อก่อโรค และอุจจาระตกค้างที่ให้กำเนิดสารพิษในลำไส้มีจำนวนลดลงอย่างมาก ร่างกายจึงได้รับสารพิษจากภายในลดลง

ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 

ร่วมถึงช่วยการขับถ่ายอุจจาระ ทำให้ไม่มีอุจจาระตกค้าง ยอดกลับมาเป็นพิษกับร่างกาย

จุลินทรีย์ในโยเกิร์ต มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

“โพรไบโอติก” คือ อีกหนึ่งจุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีทั้งชนิดแบคทีเรียดี ชนิดยีสต์ที่ดี และชนิดเชื้อราที่ดี ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีประโยชน์แตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นชนิดของจุลินทรีย์ที่มีอยู่มากในโยเกิร์ต เมนูที่คนรักสุขภาพหลงรัก

ประโยชน์หลัก ๆ ของโพรไบโอติก คือ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ด้วยการเข้าไปลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่อาจก่อโรคในร่างกาย ช่วยกำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทั้งยังกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารให้มีความสมดุล ลดอาการท้องอืด ท้องเสีย กระตุ้นการขับถ่าย บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และเมื่อลำไส้มีจุลินทรีย์ดี แบคทีเรียดีมากกว่าชนิดไม่ดี ก็ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้นไปอีก

ทั้งนี้ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ระบุถึงข้อแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิด กินอาหารที่มีโพรไบโอติกหรือนมโพรไบโอติกส์เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

โยเกิร์ตออแกร์นิคจาก Butterfly Organic

โยเกิร์ตออร์แกนิคของเรา ไม่ใช่แค่วัวที่เลี้ยงแบบกินหญ้า Grass Fed เท่านั้น แต่เป็นวัวที่กินหญ้าออร์แกนิค 100% (certified organic) ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือสารเคมีใด ๆ ทั้งกับตัววัวและพื้นที่ในฟาร์ม เราปล่อยวัวให้เดินเล่นในทุ่งกว้าง ไม่มีการกักขัง เพื่อให้วัวของเราได้มีสุขภาพแข็งแรง อารมณ์ดี เพื่อให้ผลผลิตดีตามไปด้วย จนเราได้รับการปิดฉลากจากมาตรฐานออร์แกนิค USDA (NOP) องค์กรที่ดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยออร์แกนิคโยเกิร์ต ชนิดคงตัวของเรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น…

– ผลิตจากนมออร์แกนิคเต็มมันเนย เข้มข้น หอมมัน และหวานเบา ๆ แบบปราศจากเคมีด้วยน้ำตาลทรายออร์แกนิค

– มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotic) และจุลินทรีย์มีชีวิต (Live Yogurt Cultures)

– เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ประกอบด้วย : Lactobacillus rhamnosus , Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus, Streptococcus thermophilus

– ไม่มีการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเพิ่มความหนืด, สารเพิ่มความคงตัว ฯลฯ

– ไม่มีการผสมนมผง หรือแต่งกลิ่นสังเคราะห์ใด ๆ จึงเข้มข้น หอมมัน จากรสชาติของโยเกิร์ตจริง ๆ

อย่างไรก็ดี เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าโยเกิร์ตของเราปลอดภัย ไร้สารเจือปน ส่งตรงมาจากฟาร์มอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้าและดูสินค้าเพิ่มเติม สามารถติดตามผ่านไลน์ได้ที่นี่ (คลิก)

FAQ

กินอะไรเพิ่มจุลินทรีย์ 

อาหารที่เป็นแหล่งที่ดีของโพรไบโอติก ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ผ่านการหมัก ดอง จนทำให้ได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ซึ่งก็สามารถเลือกรับประทานได้ตามนี้
1. โยเกิร์ต
2. นมเปรี้ยว
3. คีเฟอร์
4. คอมบูชา
5. ขิงดอง
6. กิมจิ

โทษของจุลินทรีย์มีอะไรบ้าง

สารพิษซึ่งสร้างจากจุลินทรีย์ ก่อให้เกิดอาการเด่นทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดมวนท้อง, คลื่นไส้อาเจียน, อุจจาระร่วง เป็นต้น ส่วนใหญ่เริ่มเกิดอาการภายใน 24-72 ชั่วโมง และระยะเวลาที่ป่วยมักไม่เกิน 1-2 วัน ดังนั้นควรรับประทานให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า