butterfly organic

ไขข้อสงสัย กินโยเกิร์ตช่วยให้อาการโรคซึมเศร้าดีขึ้นได้อย่างไร มาดูกัน!

Butterfly Organic

Butterfly Organic

สารบัญบทความ

อาการโรคซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งโรคที่ร้ายแรงและหนึ่งในโรคที่คนไทยในยุคปัจจุบันเป็นกันมากขึ้น โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ภาวะทางอารมณ์ของหลาย ๆ คนเปลี่ยนไป เพราะได้รับผลกระทบต่าง ๆ จากการแพร่ระบาด ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็มีโอกาสเป็นภาวะนี้ได้ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญนอกจากยาและการเข้าพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอที่จะช่วยบรรเทาอาการภาวะโรคนี้ให้ดีขึ้นได้แล้ว การรับประทานอาหารที่ช่วยปรับสมดุลสมองและภาวะอารมณ์ก็เป็นอีกหนึ่งทางออกเช่นเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเมนูที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ก็คือ “โยเกิร์ต” นั่นเอง

หลาย ๆ คนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าเจ้านมหมักชนิดนี้ นอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักแล้ว ยังสามารถบรรเทาอาการจากภาวะซึมเศร้าได้อีกเช่นเดียวกัน ซึ่งมันสามารถทำได้ได้อย่างไรนั้น Butterfly Organic มีคำตอบ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันก่อนว่ามันคืออะไรกันแน่

ซึมเศร้า คืออะไร ทำไมจึงได้ชื่อว่าเป็นโรคที่อันตรายอีกชนิดหนึ่ง

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ และนั่นจึงทำมันกลายเป็นภาวะทางจิตที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยนั่นเอง

ซึมเศร้า อาการที่สามารถสังเกตได้

ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

– เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม

– รู้สึกเศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง

– รู้สึกตนเองไร้ค่า

– รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา

อาหารโรคซึมเศร้าที่ควรกินและไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง?

หลาย ๆ คนอาจคิดว่า อาหาร นั้นก็เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งในการช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายสามารถขับเคลื่อนไปได้ในแต่ละวันเท่านั้น แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นการเลือกรับประทานอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่ากลุ่มผู้ป่วยสามารถกินและไม่ควรกินอะไรบ้าง

กลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรรับประทาน

อาหารที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรรับประทานเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพยารักษาของแพทย์มี 5 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้ 

1.กลุ่มอาหารที่มีกรดไขมันดี

คือ โอเมก้า 3 ได้แก่ เนื้อปลาต่างๆ อาทิ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ทูน่า ปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวายเนื้อขาว เป็นต้น ซึ่งกรดไขมันดีเหล่านี้จะช่วยลดอาการโรคซึมเศร้าได้

2.ไข่

ซึ่งมีกรดอะมิโนที่สำคัญ โดยเฉพาะทริปโตเฟนและไทโรซีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินทำให้อารมณ์ดี และยังเปลี่ยนให้เป็นเมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

3.กล้วย

จะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมและมีสารทริปโตเฟน ช่วยบรรเทาให้ความดันโลหิตกลับสู่ภาวะสงบ ลดการเกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล

4.กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

อาทิ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น จะช่วยสร้างสารซีโรโทนินในสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย

5. กลุ่มอาหารที่มีโพรไบโอติก

การศึกษาเกี่ยวกับสภาวะอารมณ์ พบว่าการรับประทานโพรไบโอติกส่งผลดีต่อสภาวะอารมณ์ของอาสาสมัครสูงอายุ (เฉลี่ย 61.8 ปี) ที่ได้รับประทานนมที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติก Lactobacillus casei Shirota ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน ผลการประเมินสภาวะอารมณ์พบว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกรู้สึกมีความสุขมากกว่ารู้สึกซึมเศร้า

กลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ควรรับประทาน

สำหรับกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยซึมเศร้าห้ามรับประทาน เนื่องจากจะซ้ำเติมอาการป่วยหรือขัดขวางการดูดซึมยา มี 2 ประเภท ได้แก่

1.อาหารที่มีน้ำตาลสูง หวานจัด

ร่างกายจะดูดซึมได้เร็วกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ร่างกายเกิดภาวะเครียด อาจจะนำมาสู่อาการหดหู่ซึมเศร้าได้

2.อาหารประเภทไส้กรอก และถั่วปากอ้า

มีสารไทรามีนสูงทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาเซเลจิลีน ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้ 

ทั้งนี้ ยังรวมถึงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้บางชนิด อีกด้วย เพราะอาจมีสารหรือฤทธิ์บางอย่างที่กระตุ้นให้ร่างกายและอาการกำเริบหนักกว่าเดิมได้

“โพรไบโอติก” อาหารเสริมปรับสมดุลสมอง ช่วยลดความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้า

มีผลการศึกษาว่าการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกที่พบในอาหารหมักดองเป็นประจำ เช่น โยเกิร์ต สามารถช่วยให้ผู้ที่มีอาการโรคซึมเศร้ามีอารมณ์ กระบวนการคิดที่ดีขึ้นนอกจากนี้ยังทำให้มีระดับความวิตกกังวลลดลง

ทั้งนี้ โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์และมีประโยชน์เอื้อเฟื้อต่อร่างกายมนุษย์ โพรไบโอติกที่เป็นที่รู้จักได้แก่ …

– ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) 

– แล็คโตแบชิลลัส เคชิไอ (Lactobacillus casei) และ

– แล็คโตแบซิลลัส แซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) 

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสามารถช่วยรักชาอาการท้องผูกได้ แต่อีกประโยชน์ที่คาดไม่ถึงก็คือการรับประทานโพรไบโอติกสามารถควบคุมสารเคมีในร่างกายรวมถึงสารสื่อประสาทอย่างเซโรโทนิน ทำให้มีผลเชื่อมโยงต่อความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์

จึงอาจสรุปได้ว่าโพรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารส่งผลต่อการทำงานของสมอง โดยมีบทบาทในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีผลต่อต้านกระบวนการอักเสบที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตโดยลดความเครียด ความรู้สึกในด้านลบ ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้นั่นเอง

กินโยเกิร์ตช่วยให้อาการโรคซึมเศร้าดีขึ้นได้อย่างไร

มาถึงการหาคำตอบว่าทำไม “โยเกิร์ต” จึงเป็นอาหารที่สามารถช่วยบรรเทาอาการจากโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งคำตอบก็มาจากผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย McMaster University ของแคนาดา ที่นักวิจัยพบว่า “โยเกิร์ต” สามารถช่วยรักษาอาการของโรคนี้ให้ดีขึ้นได้

โดย 64 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน และมีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมด้วยนั้น มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นจากการกิน “แบคทีเรียที่ดี” หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย (โพรไบโอติก) ซึ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์จำพวกโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว

และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งกินยาหลอกเข้าไปพบว่ากลุ่มหลังมีอาการดีขึ้นน้อยกว่าเท่าตัว คือ 32 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนักวิจัยทำการวิเคราะห์กลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 44 คน โดยให้ครึ่งหนึ่งกินโพรไบโอติกทุกวัน  อีกครึ่งหนึ่งให้กินยาหลอก จากนั้นติดตามผลเป็นเวลานาน 10 สัปดาห์

ผลปรากฏว่า อาการทางจิตใจของผู้ป่วยกลุ่มที่กินโปรไบโอติกส์ดีขึ้น หลังจากทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองของสมองผู้ป่วยเมื่อได้เห็นภาพที่มีความสุขและภาพที่หดหู่ ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาอีกชิ้นของเกาหลีใต้ที่ให้ผู้หญิง 12 คน กินโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติก จำพวกแลกโตบาซิลัส และบิฟิโดแบคทีเรียม นาน 4 สัปดาห์ แล้วพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโพรไบโอติกมีอารมณ์ที่ดีขึ้น หลังตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโพรไบโอติกที่พบได้บ่อยได้แก่ โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว ผู้บริโภคควรสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์และเลือกบริโภคให้ถูกต้อง และนอกจากสังเกตชนิดของโพรไบโอติกแล้ว ผู้บริโภคควรสังเกตปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวมีปริมาณน้ำตาลสูง ควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สูตรที่มีการลดปริมาณน้ำตาล และไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 25 กรัม เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานด้วย

โยเกิร์ตออแกร์นิคจาก Butterfly Organic

โยเกิร์ตออร์แกนิคของเรา ไม่ใช่แค่วัวที่เลี้ยงแบบกินหญ้า Grass Fed เท่านั้น แต่เป็นวัวที่กินหญ้าออร์แกนิค 100% (certified organic) ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือสารเคมีใด ๆ ทั้งกับตัววัวและพื้นที่ในฟาร์ม เราปล่อยวัวให้เดินเล่นในทุ่งกว้าง ไม่มีการกักขัง เพื่อให้วัวของเราได้มีสุขภาพแข็งแรง อารมณ์ดี เพื่อให้ผลผลิตดีตามไปด้วย จนเราได้รับการปิดฉลากจากมาตรฐานออร์แกนิค USDA (NOP) องค์กรที่ดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยออร์แกนิคโยเกิร์ต ชนิดคงตัวของเรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น…

– ผลิตจากนมออร์แกนิคเต็มมันเนย เข้มข้น หอมมัน และหวานเบา ๆ แบบปราศจากเคมีด้วยน้ำตาลทรายออร์แกนิค

– มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotic) และจุลินทรีย์มีชีวิต (Live Yogurt Cultures)

– เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ประกอบด้วย : Lactobacillus rhamnosus, Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus, Streptococcus thermophilus

– ไม่มีการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเพิ่มความหนืด, สารเพิ่มความคงตัว ฯลฯ

– ไม่มีการผสมนมผง หรือแต่งกลิ่นสังเคราะห์ใด ๆ จึงเข้มข้น หอมมัน จากรสชาติของโยเกิร์ตจริง ๆ

อย่างไรก็ดี เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าโยเกิร์ตของเราปลอดภัย ไร้สารเจือปน ส่งตรงมาจากฟาร์มอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้าและดูสินค้าเพิ่มเติม สามารถติดตามผ่านไลน์ได้ที่นี่ (คลิก)

FAQ

โรคซึมเศร้ารักษาหายไหม

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน

โรคซึมเศร้าต้องกินยานานแค่ไหน

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใส และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่ เมื่ออาการเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ แพทย์จะแนะนำให้ทานยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานกว่านั้น ตามลักษณะอาการผู้ป่วย

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า