butterfly organic

นมและโยเกิร์ต usda organic คืออะไร? ต้องออแกร์นิคแค่ไหนถึงเรียกว่าดีต่อสุขภาพ

Butterfly Organic

Butterfly Organic

usda organic คืออะไร อาจเป็นคำที่หลายๆ คนอาจไม่คุ้นเคยมากนัก แต่ในวงการนักทานอาหารออร์แกนิคหรือบรรดาเจ้าของธุรกิจฟาร์มต่างๆ นั้นย่อมเป็นที่คุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งต้องบอกก่อนว่า USDA เป็นการประเมินผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือจากทางประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีความเข้มงวดในการประเมินเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การประเมินนี้เกี่ยวอะไรกับผลิตภัณฑ์ของไทย แล้วทำไมผู้บริโภคต้องทำความรู้จัก เรามาติดตามกัน

Organic certification คืออะไร ทำไมฟาร์มออร์แกนิคต้องมี?

จากแนวโน้มการเติบโตของตลาดสินค้าอินทรีย์มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คำว่า อินทรีย์ หรือ ออร์แกนิก (Organic) ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดกันอย่างแพร่หลาย ทำให้หลายประเทศมีการกฎหมายควบคุมให้เฉพาะผลิตผลและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอินทรีย์เท่าจึงจะสามารถใช้คำว่า อินทรีย์ (organic) บนฉลากสินค้าได้ แต่ไม่ใช่สำหรับประเทศไทย จึงทำให้ในท้องตลาดบ้านเรามีสินค้าที่เรียกตัวเองว่าเป็นอินทรีย์มากมายจนผู้บริโภคสับสน ดังนั้นการสร้างความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้กับผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องที่ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เริ่มหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ผู้บริโภคจึงควรทำความรู้จักกับตรามาตรฐานผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่น่าเชื่อถือ หรือพอจะเชื่อถือได้ต่างๆ และเลือกซื้อสินค้าอินทรีย์ที่มีตรารับรองมาตรฐานอินทรีย์เหล่านั้นบนฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อความมั่นใจว่าจะได้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่แท้จริง

กล่าวโดยสรุปก็คือ การประเมินเหล่านี้จะเป็นตัวการันตีความปลอดภัยว่าสินค้าที่ผู้บริโภคมีความเป็นออร์แกนิคจริงหรือไม่ อันตรายหรือเปล่า โดยผ่านการคัดกรองอย่างละเอียดหลังจากนั้นจะทำการปิดฉลากให้เพื่อเป็นการยืนยันว่าสินค้าหรือฟาร์มที่ถูกประเมินได้รับการรับรองจริงๆ อย่างไรก็ดี สำหรับหน่วยงานที่ได้รับความไว้ไว้ใจในการประเมินทางการเกษตรเช่นนี้มีอยู่มากมายทั้งจากไทยและต่างประเทศด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้บริโภคจึงควรรู้จักองค์กรเหล่านี้เอาไว้

“USDA” มาตรฐานสากลของการเป็นออร์แกนิคที่ผู้บริโภคควรรู้จัก

ปัจจุบัน Organic Food หรือ อาหารอินทรีย์ กำลังเป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐฯ สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ ผักและผลไม้สด เครื่องดื่มที่ไม่ใช่นม ขนมปังและธัญพืช อาหารบรรจุหีบห่อ (อาหารแช่แข็งและอาหารแห้ง อาหารสำหรับทารก และขนมหวาน) ผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ได้กำหนดมาตรฐานในการปิดฉลากสินค้า Organic Food เป็นต้น

USDA คืออะไร

USDA ย่อมาจาก U.S. Department of Agriculture เป็นตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสินค้าที่จัดเป็น Organic ตามมาตรฐาน USDA วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเป็นพืชที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม หรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี พืชที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยมูลสัตว์

USDA Organic ควรเป็นสินค้าแบบไหน?

สินค้าที่จัดเป็น Organic Food ตามมาตรฐาน USDA ได้แก่ สินค้าที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมหรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี พืชที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยมูลสัตว์ เนื้อสัตว์และไข่ที่มาจากสัตว์ที่ไม่ใช้ฮอร์โมนช่วยในการเติบโตและไม่ใช้ยา ปฏิชีวนะ ยกเว้นการให้อาหารเสริมประเภทวิตามินหรือแร่ธาตุ รวมทั้งต้องได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารสัตว์ที่เป็น Organic เป็นต้น

มาตรฐาน USDA มีแนวทางในการประเมินอย่างไร ยากหรือไม่?

มาตรฐานของ USDA Organic เริ่มตั้งแต่พื้นที่ที่ใช้ปลูกวัตถุดิบจะต้องปลอดจากสารเคมี หรือการเลี้ยงสัตว์ทางการเกษตรที่ต้องปลอดการเลี้ยงแบบใช้สารเคมีเช่นกัน โดยระบบต้องเป็นเช่นนี้อย่างน้อย 3-5 ปี

โดยเน้นย้ำว่าทุกๆ ขั้นตอนของขบวนการผลิตวัตถุดิบจะต้องปลอดการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด เพื่อที่จะได้รับการยืนยันว่าวัตถุดิบที่ทางบริษัทฯ จะนำมาเพื่อผลิตสินค้าจะต้องได้รับมาตรฐานการรับรองถึงความเป็น “เกษตรอินทรีย์” 

มาตรฐาน USDA มีเกณฑ์อย่างไร ต้องออร์แกนิคขนาดไหนจึงจะได้รับการปิดฉลาก?

สินค้าออร์แกนิคที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ ที่สามารถปิดฉลากสินค้า (โลโก้ USDA) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

• สินค้าที่มีส่วนผสมเป็น Organic 100%

• สินค้าที่มีส่วนผสมเป็น Organic ไม่น้อยกว่า 95%

สําหรับสินค้าที่มีส่วนผสมเป็น Organic ตํ่ากว่า 95% จะไม่ได้รับการประทับตรา USDA Organic แต่ถ้ามีส่วนผสมเป็น Organic ตํ่ากว่า 95% – 70% สามารถระบุว่าใช้ส่วนผสมที่เป็น Organic ได้ เช่น Made with Organic Ingredients หรือถ้ามีส่วนผสมเป็น Organic ตํ่ากว่า 70% สามารถระบุว่ามีส่วนผสมบางส่วนเป็น Organic ได้ เช่น Some Organic Ingredients

โดยการขอปิดฉลาก USDA Organic ผู้ส่งออกไทยสามารถติดต่อขอได้ที่ USDA หรือบริษัทที่ได้รับการรับรองจาก USDA ซึ่งส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ พิจารณาออกฉลากให้สําหรับผู้ส่งออกไทยสามารถติดต่อสํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนเพื่อช่วยตรวจสอบมาตรฐาน และติดต่อประสานงานกับบริษัทที่ได้รับการรับรองจาก USDA ในสหรัฐฯ เพื่อให้พิจารณาออกฉลาก

“Organic Thailand” คืออะไร ต่างจาก USDA อย่างไร?

เครื่องหมายรับรอง “Organic Thailand” เป็นเครื่องหมายรับรองปัจจัยการผลิต แหล่งการผลิต หรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการรับรองจาก กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ซึ่งเป็นหน่วยตรวจรับรอง (Certification Body : CB) อันเป็นเครื่องหมายรับรอง “เฉพาะหน่วยงาน” 

สำหรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ – มกอช. (National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards – ACFS) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ เครื่องหมายรับรองปัจจัยการผลิต แหล่งการผลิต หรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยได้รับการรับรองจาก กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ และกรมประมง นั่นเอง

ดังนั้น ความแตกต่างของ 2 หน่วยงานน็แทบไม่มีสิ่งใดที่แตกต่างกันมาก  แต่ก็มีบางอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น เกณฑ์การประเมิน ระยะเวลาในการประเมิน ความยากง่ายในการขอใบรับรอง ซึ่งหากมองว่า USDA เป็นการรับรองที่มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือจากทางสหรัฐฯ Organic Thailand ก็เป็นตัวแทนจากฝั่งประเทศไทยนั่นเอง

มาตรฐาน Organic Thailand มีอะไรบ้าง?

1. เกษตรกรต้องไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ หรือพ่อแม่พันธุ์พืชที่ทำการตัดแต่งพันธุกรรม

2. อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ หรือปุ๋ย ต้องเป็นอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติ หรือมีการผลิตขึ้นเองภายในฟาร์ม เช่น ปุ๋ยพืชสด        

3. ใช้นกและแมลงในการกำจัดศัตรูพืช ให้เป็นห่วงโซ่อาหาร                                                                                            

4.ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ ในการปรับปรุงดิน                                                                                          

5. เกษตรกรต้องสร้างสิ่งกีดขวาง เพื่อป้องกันสารเคมีจากแปลงข้างเคียงที่จะเข้ามาสู่ฟาร์มเรา โดยการ ทำคันดินกั้นระหว่างแปลง การขุดคูน้ำ และการปลูกพืชเป็นแนวป้องกัน หรือการปลูกพืชเป็นแนว

6. เกษตรกรต้องไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในทุกขั้นตอนการผลิต คือ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ

7. ในการเปลี่ยนจากเกษตรธรรมดา มาเป็นเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรต้องมีการเว้นช่วงเวลาที่เรียกว่า ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน ซึ่งระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันตามชนิดพืช และชนิดของสัตว์

นมและโยเกิร์ต USDA Organic คืออะไร?

นมและโยเกิร์ตที่ได้รับ USDA Organic นั้น คือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะใดๆ ทั้งกับพื้นที่และตัววัวที่นำน้ำนมมาผลิตเป็นนมและโยเกิร์ตดังกล่าว  โดยทางฟาร์มจะปล่อยให้วัวได้เดินออกกำลังกายอย่างอิสระบนผืนหญ้าออร์แกนิกที่โปร่งโล่งสบาย ได้รับการดูแลอย่างพิถีพิถันจนสามารถผลิตนมและโยเกิร์ตที่มีคุณภาพและผ่านเกณฑ์ของ USDA มาได้นั่นเอง 

ซึ่งหากผู้บริโภคท่านใดที่สนใจอยากลองทานนมหรือโยเกิร์ตที่ได้รับการรับรองจาก USDA นั้น ก็สามารถซื้อผลิตภัณฑ์จาก Butterfly Organic มาลองทานได้ โดยแบรนด์นี้ยังคงเป็นแบรนด์แรกและแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่ได้รับรองออร์แกนิคจาก NOP นั่นเอง (สามารถซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หรือสามารถสั่งสินค้าของเราได้ที่ LINE OFFICIAL Butterfly Organic )

อย่างไรก็ดี ขอย้ำอีกครั้งว่าผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ ว่าโยเกิร์ตหรือนมที่มีฉลากของการประเมินของ USDA นั้นมีความปลอดภัยอย่างแน่นอนเราไม่ใช่เพียงแค่มาตรฐานระดับประเทศเท่านั้น แต่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระดับสากลว่าเป็นสินค้าออร์แกนิคที่มีคุณภาพ ควรค่าแก่ผู้บริโภค

FAQ

USDA Organic ขอยังไง

การรับรองออร์แกนิคของ USDA จากสหรัฐฯ นั้นเป็นกระบวนการที่เจ้าของฟาร์มต้องมีความอดทนในการประเมินเป็นอย่างมากเนื่องจากการประเมินจากเจ้าหน้าที่จะมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะจุดประสงค์ของการประเมินจาก USDA คือ การสร้างความมุ่งมั่นให้กับผู้บริโภคในระยะยาว 
ดังนั้นกระบวนการในการตรวจสอบความออร์แกนิกจึงอาจจะใช้เวลานาน โดยในบางกรณีก็มีฟาร์มบางแห่งที่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าหลายปีเพื่อปรับแผนการเกษตรของฟาร์มให้ถูกต้องตามเกณฑ์ของ USDA เลยทีเดียว

ขั้นตอนการสมัครเพื่อขอใบรับรอง USDA organic

ขั้นตอนที่ 1:
เลือกตัวแทนการรับรองออร์แกนิคที่เราต้องการ จากนั้นรับและกรอกแบบฟอร์มใบสมัครตัวแทนนั้นๆ หลังจากนั้นตัวแทนจะทำการตรวจสอบใบสมัครของเราเพื่อดูให้แน่ใจว่าเราได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานของ NOP ได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่  จากนั้นตัวแทนจะกำหนดเวลาในประเมินพื้นที่ (ฟาร์ม)
ขั้นตอนที่ 2:
ตัวแทนนั้นๆ จะออกใบรับรองออร์แกนิกและกำหนดเวลาการเยี่ยมชมสถานที่เพื่อตรวจสอบการผลิตและการจัดการออร์แกนิกของฟาร์มของเราอยู่เสมอ รวมถึงตรวจสอบว่าข้อมูลการสมัครของเราเป็นความจริงและถูกต้องหรือไม่ โดยในระยะเวลานั้นตัวแทนจะเข้ามาตรวจดู Product ว่ามีสารอันตรายใดหรือไม่ที่ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเมื่อการประเมินเสร็จสิ้น ตัวแทนจะทำการแจ้งปัญหาที่พบให้กับเจ้าของฟาร์มทันที
ขั้นตอนที่ 3:
หลังจากการตรวจสอบแล้ว  ผู้ตรวจสอบของคุณจะเขียนรายงานการประเมินของฟาร์มของเรา รวมถึง ไฟล์ผู้สมัคร และการสัมภาษณ์ออกจะได้รับการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ  (NOP) หากตัวแทนออกใบรับรองออร์แกนิกให้เราแล้ว ก็ไม่มีข้อกังวลใดๆ และหากชำระค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว เราก็จะได้รับอนุญาตให้ติดป้ายกำกับผลิตภัณฑ์หรือบริษัทของเราเป็น USDA Certified Organic 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า